ความรู้คู่แนวทางการรักษาภาวะมีบุตรยาก

Embryo Glue

กาวติดตัวอ่อน (Embryo Glue)คืออะไร จำเป็นไหม ช่วยเพิ่มโอกาสติดได้สูงขึ้น จริงหรือเปล่า -Smile IVF

กาวติดตัวอ่อน มันคืออะไร จะเหนียวติดเหมือนกาวตราช้างไหม มันช่วยให้ท้องได้เลยรึเปล่า มาไขข้อสงสัยกันค่ะ

มาทำความรู้จักตัวช่วยดีดีชื่อว่า “Embryo Glue ในการช่วยการฝังตัวอ่อน และเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้มากขึ้นอีกด้วย

Embryo glue คือ น้ำยาชนิดหนึ่งที่มีส่วนผสมของ โปรตีนที่ชื่อว่า Hyaluronan ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติในร่างกาย และจะพบเป็นจำนวนมากในเยื่อบุโพรงมดลูกในช่วงเวลาที่มีการฝังตัวของตัวอ่อน โดยสารชนิดนี้จะทำหน้าที่จับกับตัวรับ (Receptor) ที่ชื่อ CD44 ที่อยู่ที่ผิวของเยื่อบุโพรงมดลูก ในช่วงเวลาที่จะมีการฝังตัวของตัวอ่อนตามธรรมชาติ เมื่อเรานำ Hyaluronan มาผสมกับตัวอ่อน Hyaluronan จะซึมเข้าไปในเปลือกของตัวอ่อนและยึดติดกับเซลล์ของตัวอ่อนไว้ มันก็เลยเกิดแรงยึดเหนี่ยวขึ้นระหว่างตัวอ่อนกับเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้ตัวอ่อนวางอยู่บนเยื่อบุโพรงมดลูกไม่เคลื่อนที่ไหลไปไหน อีกทั้ง Hyaluronan นั้นเป็นอาหารสำหรับตัวอ่อนด้วย ตัวอ่อนจึงสามารถเจริญเติบโตได้ดีและฝังตัวลงไปบนเยื่อบุโพรงมดลูก เกิดเป็นการตั้งครรภ์ได้

โดยการทำงานของน้ำยา Embryo glue คือจะทำการเคลือบตัวอ่อนเพื่อง่ายต่อการผ่านชั้นสารน้ำที่อยู่บริเวรพื้นผิวเยื่อบุผิว และเมื่อตัวอ่อนเข้าใกล้เยื่อบุผิวโพรงมดลูกสาร Hyaluronan จะทำการยึดติดกับตัวรับระหว่างเซลล์ตัวอ่อนและเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก           ( Receptor CD44 ) หลังจากนั้นตัวอ่อนจะทำการยึดเกาะเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกนั้นเอง

เมื่อใช้กาวติดตัวอ่อนร่วมกับการย้ายตัวอ่อน

ในผู้หญิงที่ทำเด็กหลอดแก้ว ที่อายุ 30 ปีหรือน้อยกว่า อัตราการตั้งครรภ์อยู่ที่ 70-85%

ถ้าอายุ 31-34 ปี ก็ประมาณ 50%

แต่ถ้าอายุ 35 ปีหรือมากกว่า ก็เหลือแค่ประมาณ 30% เท่านั้น

จะเห็นได้ว่าอายุฝ่ายหญิงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดว่าจะท้องหรือไม่ ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาหลายๆฉบับที่แสดงให้เห็นผลในทางบวกของ Embryo Glue ที่ช่วยให้อัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ก็ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่างช่วยด้วยนะคะ

Smile IVF Clinic เราพร้อมให้คำปรึกษาเรื่อง “การมีบุตรยาก” โดยทีมแพทย์ ทีมพยาบาล ทีมนักวิทย์ฯ และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์โดยตรง รวมไปถึงเครื่องมือและห้องปฏิบัติการทางแล็บที่ทันสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ที่ผลสำเร็จสูงสุด

era-test-embryo-transfer/

ERA® การวิเคราะห์ความไวของเยื่อบุโพรงมดลูก 

ERA test (Endometrial Receptivity Analysis Test) ตัวช่วยเพิ่มโอกาสฝังตัวให้สูงขึ้นจากการย้ายตัวอ่อนวิธีปกติทั่วไป เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์โดยไม่สูญเสียตัวอ่อนที่ดี แม้แต่ตัวอ่อนที่ดีที่สุดก็ยังไม่สามารถปลูกถ่ายได้หากสภาวะผนังมดลูกไม่เหมาะสมต่อการฝังตัว โดยรายงานผลจะเป็นการให้คำแนะนำช่วงเวลาการย้ายตัวอ่อนเฉพาะบุคคล และแพทย์จะใช้ผลการวิเคราะห์เพื่อคำนวณเวลาการย้ายตัวอ่อน (โดยปรับตามการเริ่มใช้กลุ่มยา Progesterone ) ในรอบจริง.

  • ผู้หญิงจำนวนมากที่ทำเด็กหลอดแก้วไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ แม้ว่าจะย้ายตัวอ่อนคุณภาพดีไปแล้วก็ตาม แม้ว่าตัวอ่อนคุณภาพดีจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ แต่การย้ายตัวอ่อนเข้าสู่มดลูกที่พร้อมรับตัวอ่อน ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
  • ระยะเวลาในการย้ายตัวอ่อนต้องสอดคล้องกับรอบประจำเดือนของร่างกาย ไม่เร็วเกินไปหรือช้าเกินไป แต่เป็นเวลาที่เหมาะสม สำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ เวลาที่ดีที่สุดในการย้ายตัวอ่อนจะเหมือนกัน แต่สำหรับผู้หญิงบางคน อาจแตกต่างออกไป

เยื่อบุโพรงมดลูกคืออะไร?

    • ภายในมดลูกเรียงรายไปด้วยเนื้อเยื่อที่เรียกว่าเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งจะถูกเตรียมไว้ในแต่ละเดือนสำหรับการมาถึงของตัวอ่อนและเป็นรังที่ตัวอ่อนจะฝังตัวและอาศัยอยู่ระหว่างตั้งครรภ์ แม้แต่ตัวอ่อนที่ดีที่สุดก็ยังไม่สามารถปลูกถ่ายได้หากสภาวะไม่เหมาะสม

 การเปิดกว้างของเยื่อบุโพรงมดลูกคืออะไร?

      • เยื่อบุโพรงมดลูกจะเปิดกว้างเมื่อพร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน ช่วงเวลาแห่งการเปิดกว้างนี้เรียกว่า หน้าต่างแห่งการฝังตัว
      • ผู้หญิงแต่ละคนมีหน้าต่างที่เป็นเอกลักษณ์ เมื่อทราบช่วงเวลาของการฝังตัวส่วนบุคคลคุณจะสามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์โดยการย้ายตัวอ่อนแบบเฉพาะบุคคลได้

ทำไมต้องทำ ERA?

  • เมื่อทำการย้ายตัวอ่อนด้วยวิธีเฉพาะบุคคลโอกาสที่จะตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นหลังการรักษา
  • 72.5%* อัตราการตั้งครรภ์โดยใช้ ERAใน ครั้งแรกในผู้ป่วยทุกราย
  • เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงสุดและไม่สูญเสียตัวอ่อนที่ดี
  • ผู้หญิง7 ใน 10 ราย ตั้งครรภ์ได้ หลังผ่านไป 1 ปี*
  • การศึกษาแบบสุ่มล่าสุด* ของเราพิสูจน์ให้เห็นว่า การย้ายตัวอ่อนร่วมกับ ERAให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
  • การตรวจ ERA นั้นจะต้องใช้เวลาในการตรวจประมาณ 1 รอบเดือน โดยจะเริ่มด้วยการกินยาเพื่อเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกเมื่อประจำเดือนมาเหมือนในขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนปกติ และเมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกหนาได้ที่ก็จะทำการเริ่มยาโปรเจสเตอโรนเป็นเวลา 5 วัน ก่อนที่จะทำการดูดเก็บเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อส่งตรวจหาการแสดงออกของยีน (gene expression) มากกว่า 200 ยีน ซึ่งเป็นยีนที่แสดงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการย้ายตัวอ่อน

การทดสอบ ERA คืออะไร?
  • ERA® คือการทดสอบวินิจฉัยครั้งแรก ที่กำหนดเวลาการย้ายตัวอ่อนเฉพาะบุคคลของผู้หญิงแต่ละคน ดังนั้นจึงเป็นการประสานการย้ายตัวอ่อน กับผลการทดสอบหน้าต่างการฝังตัวที่เป็นรายบุคคล
ERA เหมาะกับคุณหรือเปล่า?
  • การตรวจ ERA นั้นไม่จำเป็นต้องตรวจในผู้ที่จะทำการย้ายตัวอ่อนทุกคน แต่ผู้ที่เหมาะสมที่จะตรวจ ERA ก็คือ คนที่เคยย้ายตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีแล้วไม่ตั้งครรภ์ ผู้ที่มีตัวอ่อนน้อยและต้องการความมั่นใจในช่วงเวลาย้ายตัวอ่อน

ค่าใช้จ่าย

  • ERA® Test ค่าใช้จ่ายรวมเบ็ดเสร็จประมาณ 50,000บาทค่ะ รวมยาเตรียมผนังมดลูก ค่าธรรมเนียมแพทย์ ค่าอัลตราซาวด์ และ ค่าส่งชิ้นเนื้อไปตรวจค่ะ รายงานผล ERA TEST จะออกหลังจากทำ ERA TEST 20 วันค่ะ
Apply for a Marriage Certificate -

คำถามเกี่ยวกับกฎหมาย รักษาภาวะมีบุตรยากใน ประเทศไทย

คำถามที่พบบ่อย ไม่จดทะเบียนสมรส ทำเด็กหลอดแก้วได้หรือเปล่าคะ

  • เพื่อเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก จำเป็นต้องมีทะเบียนสมรส เพราะประเทศไทยมีกฎหมายว่าคู่สมรสต้องจดทะเบียนสมรสจึงจะทำ IUI และ IVF ICSI ในประเทศไทยได้ คุณจำเป็นต้องนำทะเบียนสมรสติดตัวมาที่โรงพยาบาลด้วยทุกครั้งที่เริ่มทำการรักษาภาวะมีบุตรยาก มิฉะนั้นแพทย์จะมีความผิดทางกฏหมายแพทย์สภา

คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในต่างประเทศ ฉันสามารถใช้วิธีการ IUI และ IVF ในประเทศไทยได้หรือไม่

  • ประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการรักษาเด็กหลอดแก้วกับคู่สมรสเพศเดียวกันที่ต้องการทำ IVF ICSI หรือ IUI ไม่สามารถทำในประเทศไทยได้ โดยกฎหมายบังคับใช้กับพลเมืองสัญชาติไทยและคู่สมรสต่างชาติ ถึงแม้จะแต่งงานอย่างถูกกฎหมายในต่างประเทศก็ตาม

 

ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งตัวอ่อนมีอย่างไรบ้าง

  • ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งตัวอ่อนมีดังต่อไปนี้
  • คู่สมรสที่ต้องการแช่แข็งตัวอ่อนต้องสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  • ก่อนการแช่แข็งตัวอ่อน ทั้งสามีและภรรยาต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอม”
  • คู่สมรสต้องตรวจร่างกายเพื่อดูว่าเป็นโรคติดต่อหรือไม่
  • ตรวจคัดกรองเพื่อแยกตัวอ่อนที่ “ติดเชื้อ” ออกจากตัวอ่อนที่ “ไม่ติดเชื้อ” (เช่น มีเชื้อ HIV/ไม่มีเชื้อ HIV)
  • สามีหรือภรรยาที่ต้องการใช้ตัวอ่อนของคู่สมรสที่เสียชีวิตไปแล้วต้องมีเอกสารยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคู่สมรสก่อนเสียชีวิต
    ต้องรายงานต่อกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย) หากต้องการใช้ตัวอ่อนแช่แข็งหลังการเสียชีวิตของคู่สมรส
  • อาจไม่สามารถใช้ตัวอ่อนแช่แข็งของคู่สมรสที่เสียชีวิตมานานกว่า 5 ปีได้

 

ในประเทศไทย สามารถตรวจคัดกรองความผิดปกติทางกันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัวได้หรือไม่

  • ประเทศไทยอนุญาตให้มีการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัวและสามารถทำในกรณีดังต่อไปนี้
  • ฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 35 ปี
  • ฝ่ายหญิงมีประวัติการแท้งมากกว่า 2 ครั้งในขณะอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ หรือผลการตรวจยืนยันว่า การแท้งครั้งก่อนเกิดจากทารกมีพันธุกรรมผิดปกติ
  • มีประวัติตั้งครรภ์ที่ทารกมีความผิดปกติอันเนื่องจากความผิดปกติของโครโมโซม
  • ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากทำ IVF มาแล้ว 2 ครั้งติดต่อกัน
  • เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมที่อาจถ่ายทอดสู่ตัวอ่อน
  • เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อน
  • เพื่อรักษาบุตรที่ป่วยเป็นโรคด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดในสายสะดือของทารกแรกคลอดที่มีเนื้อเยื่อเข้ากันได้
amh ต่ำ รังไข่เสื่อม

ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัย

ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัย (วัยทองก่อนวัยอันควร) คือภาวะที่รังไข่ทำงานผิดปกติไป ในขณะที่อายุยังน้อย (น้อยกว่า 40ปี)

โดยธรรมชาติแล้ว รังไข่จะค่อยๆ ทำงานด้อยประสิทธิภาพลงตามอายุเพิ่มขึ้น และหยุดทำงานเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เมื่อรังไข่หยุดทำงาน ก็คือไม่มีการตกไข่ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอาการภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัย ไม่ได้ไม่มีการตกไข่เลย เพียงแต่ว่ารังไข่มีการทำงานผิดปกติไปจากเดิม โดยอาจจะการตกไข่เกิดขึ้นเพียงครั้งคราวเท่านั้น

โดยภาวะนี้มีสาเหตุมาจาก

1.ประจำเดือนขาด พบได้ประมาณร้อยละ 2-10

2.เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ก่อนประจำเดือนจะขาด เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด โดยมักจะขาดไปหลังการ

3.ตั้งครรภ์ หรือหลังจากหยุดยาคุมกำเนิด

4.โครโมโซมผิดปกติ พบได้ประมาณร้อยละ 10

5.ภาวะมีบุตรยาก พบน้อย

6.อื่นๆ เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การทำเคมีบำบัด

Platelet-Rich Plasma (PRP) คืออะไร ?
PRP คือ พลาสมาที่อุดมไปด้วยเกล็ดเลือด ซึ่งได้จากการสกัดเลือดจากคนไข้เอง แล้วนำมาปั่นผ่านกระบวนการคัดแยกให้ได้เกล็ดเลือดเข้มข้นกว่าปกติ 4-5 เท่า ทั้งนี้แพทย์จะสามารถควบคุมอุณหภูมิระหว่างปั่นไม่ให้กระทบต่อสารชีวภาพในเกล็ดเลือดได้ ทำให้รักษาสารสำคัญต่างๆ ไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การฉีด PRP จะช่วยรักษาอาการ และฟื้นฟูเนื้อเยื่อได้หลายชนิด เพราะในเกล็ดเลือดมี Growth Factor และ Cytokines อันเป็นสารประกอบที่ช่วยกระตุ้นเซลล์รอบๆ เนื้อเยื่อให้เกิดกระบวนการฟื้นฟูและแบ่งตัวตามกลไกธรรมชาติได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การฉีด PRP เหมาะสำหรับใครบ้าง ?

1.ผู้ที่มีปัญหารังไข่เสื่อมก่อนวัย การทำ PRP จะช่วยกระตุ้นระดับฮอร์โมนให้การทำงานของรังไข่ให้ดีขึ้น หลังฉีดแล้วพบว่า คนไข้ส่วนใหญ่มีระดับ AMH (ฮอร์โมนที่บอกถึงจำนวนไข่) เพิ่มขึ้น

2.ผู้ที่มีภาวะรังไข่ตอบสนองต่อการกระตุ้นต่ำ
ผู้ที่มีปัญหาเยื่อบุโพรงมดลูกบางจนไม่สามารถย้ายตัวอ่อนได้ เมื่อได้รับการฉีด PRP ก่อนการสอดยาโปรเจสเตอโรน พบว่าช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น และมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเยื่อบุโพรงมดลูกเพิ่มขึ้น

3.ผู้ที่ทำการกระตุ้นไข่ แต่ได้ตัวอ่อนไม่แข็งแรง ไม่ถึงระยะ blastocyst หรือตรวจโครโมโซมไม่ผ่าน

กระบวนการในการฉีด PRP

ใช้ระยะเวลาประมาณ 20 นาที เมื่อนำเลือดไปปั่นแยกแล้ว สามารถนำฉีดเข้าโพรงมดลูกหรือฉีดบริเวณเนื้อรังไข่ได้โดยไม่ต้องผ่าตัด และไม่ต้องพักฟื้น มีการวางยาสลบโดยวิสัญญีแพทย์ จึงไม่ควรขับรถกลับบ้านเองตามลำพัง เพื่อความปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีผลการวิจัยรองรับในเรื่องการเพิ่มจำนวนไข่ รวมถึงอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ หรือโอกาสในการเกิดมะเร็งที่รังไข่จากการฉีด PRP ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

 

illumina-NGS (Next-generation sequencing)

ข้อบ่งชี้ในการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน 

การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนด้วยเทคนิค NGS เหมาะกับคู่สมรสที่ทำเด็กหลอดแก้วทั้ง IVF และ ICSI ในกรณีที่

1.คุณแม่อายุมากกว่า 35 ปี
2.คุณแม่มีประวัติแท้งซ้ำมากกว่า 2 ครั้ง ในช่วงที่อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์
3.คุณแม่มีประวัติแท้ง และตรวจตัวอ่อนพบว่าตัวอ่อนที่แท้งไปมีพันธุกรรมผิดปกติ
4.คู่สมรสเคยทำเด็กหลอดแก้ว ไม่ว่าจะเป็น IVF หรือ ICSI มากกว่า 2 ครั้ง แล้วตั้งครรภ์ไม่สำเร็จ
5.คู่สมรสทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีพันธุกรรมผิดปกติ หรือทราบว่าเป็นพาหะ
6.คู่สมรสเคยมีลูกที่พิการ หรือมีพันธุกรรมผิดปกติ
7.มีคนในครอบครัวเป็นโรคทางพันธุกรรม
8.คุณพ่อมีอสุจิที่ผิดปกติอย่างรุนแรง
9.มีเหตุจำเป็นที่จะต้องใช้ประโยชน์จากสเต็มเซลล์ของทารก เพื่อตรวจดูก่อนว่าตัวอ่อนที่จะย้ายไปเพื่อตั้งครรภ์ มีพันธุกรรมที่สามารถนำสเต็มเซลล์ไปใช้กับคนในครอบครัวที่กำลังป่วยอยู่ได้หรือไม่

การตรวจโครโมโซม PGS จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อยตามเทคนิคที่ใช้ตรวจ ได้แก่

2.1 FISH (Fluorescence in situ Hybridization) เป็นเทคนิคเก่า ที่จะตรวจโดยการย้อมสีโครโมโซม และนับจำนวนว่ามีจุดสีครบคู่หรือไม่ แต่วิธีการนี้ สีที่ย้อมจะติดที่โครโมโซมเพียง 9 คู่ ทำให้ผลการตรวจไม่แม่นยำเท่าใดนัก

2.2 CCS (Comprehensive Chromosome Screening) เป็นเทคนิคที่จะตรวจโดยใช้ DNA ของตัวอ่อนจับคู่กับ DNA ควบคุม ทำให้สามารถตรวจนับได้ครบทั้ง 23 คู่ ทำให้ผลการตรวจแม่ยำมากขึ้น

2.3 NGS (Next Generation Sequencing) เป็นเทคนิคใหม่ล่าสุดในการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนที่จะตรวจโดยการหาลำดับเบส (นิวคลีโอไทด์) ของตัวอ่อน ทำให้ได้ข้อมูลของโครโมโซมและสารพันธุกรรมอย่างละเอียด ทั้งยังทำได้เร็ว และค่าใช้จ่ายถูกกว่าการทำ CCS จึงเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

ขั้นตอนการตรวจโครโมโซมด้วยเทคนิค NGS

1. เก็บตัวอย่างเซลล์ออกมาจากตัวอ่อน

การเก็บตัวอย่างเซลล์ จะทำเมื่อเพาะเลี้ยงตัวอ่อนได้ประมาณ 5 วัน จนตัวอ่อนเข้าสู่ระยะ Blastocyst เนื่องจากเป็นระยะที่มีเซลล์จำนวนมากพอ และพร้อมที่จะย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกแล้ว การเก็บเซลล์ออกมาเพื่อตรวจโครโมโซมจะเก็บออกมาประมาณ 3 – 5 เซลล์ ขั้นตอนนี้จะต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะที่ทันสมัย และต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะหากผิดพลาดอาจทำให้ตัวอ่อนเสียหาย จนโอกาสตั้งครรภ์ลดลงได้

2. เพิ่มจำนวนสารพันธุกรรม

การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนด้วยเทคนิค NGS จะต้องใช้สารพันธุกรรมเป็นจำนวนมาก แต่สารพันธุกรรมที่ได้จากเซลล์ตัวอ่อนเพียง 3 – 5 เซลล์นั้นไม่เพียงพอ จึงต้องเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมก่อนจะเข้ากระบวนการ NGS

3. นำไปตรวจด้วยเทคนิค NGS

การตรวจด้วยเทคนิค NGS จะทำโดยแยก DNA หรือ RNA ออกจากกันจนเป็นเบสสายสั้นๆ และเข้ากระบวนการให้สารพันธุกรรมกลับมาต่อกันจนกลายเป็นจีโนม (Genome) หรือ DNA ที่เป็นรูปเกลียว จากนั้นผู้เชี่ยวชาญจะนำข้อมูลของจีโนมไปวิเคราะห์ต่อว่ามีความผิดปกติหรือไม่

ที่คลินิกรักษาผู้มีบุตรยากSmile IVF Clinic เราให้บริการตรวจด้วยเทคนิคใหม่ล่าสุดอย่าง NGS ซึ่งมีจุดประสงค์หลักเพื่อลดความเสี่ยงการแท้ง ก่อนย้ายตัวอ่อนใส่กลับเข้าไป กรณีทำ IVF หรือ ICSI ช่วยให้เกิดผลสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก และหลีกเลี่ยงผลกระทบทางจิตใจในกรณีที่แท้งบุตรอีกด้วย

นอกจากนี้ การตรวจโครโมโซมของตัวอ่อนยังมีประโยชน์ในรายที่คุณหรือคู่สมรสมีความผิดปกติของสารพันธุกรรมหรือเป็นพาหะของโรคต่างๆ อย่างเช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคธาลัสซีเมีย หรือโรคมะเร็งเต้านมที่มียีนกลายพันธุ์ที่ผิดปกติ ถ้าคนในครอบครัวหรือว่าคู่สมรสของคุณมีปัญหาดังต่อไปนี้ ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะมีบุตรยาก เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

ivf-icsi

ความแตกต่างระหว่างการรักษาด้วย IVF และ ICSI คืออะไร

การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) และการฉีดอสุจอเข้าไปในเซลล์ไข่ (ICSI) คือการนำไข่และอสุจิจากคู่สมรสออกมาปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ความแตกต่างอยู่ที่กระบวนการในการทำให้เกิดการปฏิสนธิ โดยที่การทำ IVF ปล่อยให้อสุจิและไข่ผสมกันเองตาม “ธรรมชาติ” ในขณะที่การทำ ICSI เป็นการคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงสมบูรณ์เพียงตัวเดียวและใช้เข็มฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง เพื่อเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิ

การเลือกไข่รอบสดหรือไข่รอบแช่แข็งในการรักษาด้วย IVF หรือ ICSI มีความแตกต่างกันอย่างไร

การย้ายตัวอ่อนรอบสด (Fresh Cycle) คือการย้ายตัวอ่อนในรอบที่ทำการกระตุ้นและเก็บไข่ และนำมาปฎิสนธินอกร่างกาย ถ้าตัวอ่อนเติบโตดี จึงจะทำการย้ายตัวอ่อนที่คัดเลือกเข้าสู่โพรงมดลูกต่อไป

ข้อดีของการย้ายตัวอ่อนรอบสด
1.สามารถย้ายตัวอ่อนเข้าไปในมดลูกได้ทันทีหรือภายใน 6 วันหลังเก็บไข่ จึงไม่เสียเวลาในการเตรียมโพรงมดลูก
2.ตัวอ่อนไม่ต้องผ่านกระบวนการแช่แข็งและละลายตัวอ่อน
ลดค่าใช้จ่ายในการแช่แข็งและเก็บรักษาตัวอ่อน

การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง (Frozen Cycle)

เป็นการใช้ตัวอ่อนที่แช่แข็งมาละลาย และย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกที่เตรียมพร้อมไว้

ข้อดีของการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง
1.สามารถนัดเวลาในการใส่ตัวอ่อนได้เมื่อพร้อม
2.ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการเก็บไข่ คือภาวะรังไข่วมน้ำ
3.ไข่แช่แข็งสามารถเก็บได้เป็นระยะเวลานาน
4.โอกาสประสบความสำเร็จสูงกว่าการใช้ตัวอ่อนรอบสด มีเวลาเตรียมผนังให้พร้อมฝังตัวอ่อน โอกาสมากถึง 80%

การรักษาด้วยวิธีการ IVF หรือ ICSI ใช้เวลานานเท่าไรและต้องอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลามากน้อยแค่ไหน

โดยปกติ ขั้นตอนการทำ IVF หรือ ICSI ใช้เวลาประมาณ 3-8 สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการนำไข่ออกมา การปฏิสนธิและการย้ายตัวอ่อน) โดยแต่ละกรณีมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ เช่น อายุ ภาวะเจริญพันธุ์และระดับฮอร์โมน

ระยะเวลาในการทำ IVF หรือ ICSI มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

วงจรของการทำ IVF หรือ ICSI เริ่มขึ้นในวันที่สองของการมีประจำเดือนของคุณในวันที่ใกล้เคียงกับการรักษาด้วยวิธีการ IVF มากที่สุดหลังจากนั้นแพทย์จะเริ่มกระบวนการกระตุ้นรังไข่ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 8-14 วัน

แพทย์จะฉีดฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้ไข่ตก และทำการเก็บไข่แบบ OPD ไม่ต้อง admit
อสุจิของฝ่ายชายจะถูกเก็บวันเดียวกับวันที่เก็บไข่ของฝ่ายหญิง

ถ้าต้องมีการทำ TESE หรือการทำ PESA จะต้องทำก่อนวันที่เก็บไข่หรือในวันที่เก็บไข่
การปฏิสนธิของไข่สดและไข่แช่แข็งใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเก็บไข่ออกมา

หากประสบความสำเร็จในการปฏิสนธิ การย้ายตัวอ่อนจะทำ 3 – 5 วันหลังจากนั้นหากเลือกไข่รอบสด แต่หากเลือกไข่รอบแช่แข็งก็สามารถนัดวันย้ายตัวอ่อนหลังจากนั้นได้
หลังจากย้ายตัวอ่อนได้ 7-14 วัน แพทย์จะทดสอบว่าคุณตั้งครรภ์หรือไม่

การตั้งครรภ์ด้วยวิธี IVF หรือ ICSI จะต้องดูแลครรภ์ด้วยวิธีการที่แตกต่างจากวิธีการตั้งครรภ์ปกติอย่างไร

เมื่อประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ด้วยวิธีการ IVF หรือ ICSI สูติแพทย์จะนัดติดตามผลการตั้งครรภ์ ซึ่งรวมถึงการตรวจฮอร์โมนและการตรวจอัลตร้าซาวด์ ในช่วง 10-12 สัปดาห์อย่างไรก็ตามการตั้งครรภ์แต่ละครั้งมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะตั้งครรภ์ด้วยวิธีการปกติหรือโดยการทำ IVF หรือ ICSI นอกจากนี้อาจต้องมาพบแพทย์บ่อยกว่าการตั้งครรภ์ด้วยวิธีการปกติและอาจต้องได้รับยากันแท้ง หรือฮอร์โมนเพิ่มเติมโดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

ICSI ตรวจโครโมโซม | Mosaicism Embryos

อยากทราบว่าภาวะ โมเซอิก ( Mosaicism Embryos) คืออะไร? ไขข้อสงสัยในกระบวนการทำ ICSI ตรวจโครโมโซม ถ้าใส่ตัวอ่อน ลูกจะออกมาผิดปกติมั้ย?

ในปัจจุบันมีการพิจารณาให้ย้ายตัวอ่อน Mosaicsm ได้ ในกรณีไม่มีตัวอ่อนปกติที่สามารถย้ายได้เลย! แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงตัวอ่อนที่มีภาวะ Mosaicism ในโครโมโซมคู่ที่ 13, 18, 21, X, Y รวมถึงโครโมโซมคู่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงอื่นๆ เพราะความผิดปกติดังกล่าวถือเป็นภาวะ Mosaicism ที่มีความเสี่ยงสูงมากต่อการเกิดทารกที่ผิดปกติ จะพิจารณาร่วมกับแพทย์ที่รักษาเป็นหลักค่ะ

ภาวะโมเซอิก (Mosaic) จะเจอได้ในกรณีที่คนไข้ทำกระบวนการ ICSI ได้ตัวอ่อน และดึงเซลล์มาตรวจแล้ว และได้ผลแล้ว เวลาแปลผล เราจะมี 3 อย่างหลักๆ คือ

  • 1. ผลปกติ
  • 2.ผลผิดปกติ ไม่แนะนำให้ใส่ตัวอ่อน
  • 3. ภาวะโมเซอิก (Mosaic) คือภาวะที่มีเซลล์ตัวอ่อนดี และไม่ดีปนกัน

โดยปกติแล้วในการดึงเซลล์ตัวอ่อนเค้าจะดึงมาตรวจทุกโครโมโซม แล้วดูว่ามีความผิดปกติกี่เปอร์เซ็น ถ้าสมมุติความผิดปกตินั้นน้อยกว่า 20% เค้าจะถือว่าตัวอ่อนนั้นเป็นปกติ

แต่ถ้าความผิดปกตินั้นมากกว่า 80% เค้าจะถือว่าตัวอ่อนตัวนี้ผิดปกติ ถ้าสมมุติ โมเซอิก(Mosaic) แค่ 25%-30% คือน้อยๆ น่าจะมีโอกาสที่ตัวอ่อนนี้พัฒนาให้เซลล์ดีเยอะกว่าไม่ดีได้ และกลับมาเป็นปกติได้ก็จะลองใส่ดู

กรณีที่เราไม่มีตัวอ่อนปกติเลย เพราะฉะนั้นบอกตามตรงเลยว่าต้องลุ้นอย่างเดียวเลย ว่ามีโอกาสท้อง และได้น้องที่ปกติ เช่นเดียวกันก็มีโอกาสไม่ท้อง หรือเด็กไม่ปกติหรือว่าบางคนไม่ฝังตัว บางคนท้องแล้วแท้งก็มี โดยคุณหมอจะเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงเป็นเคสๆไป

ตัวอ่อนที่เป็น Mosaic ถือว่าก็ยังมีโอกาสโตไปเป็นทารกที่ปกติได้ค่ะ เพราะการสุ่มเซลล์มาตรวจโครโมโซมเป็นการเอาจากส่วนที่จะพัฒนาไปเป็นรก ไม่ใช่ส่วนที่จะเป็นเด็ก ซึ่งในบางครั้งระหว่างการแบ่งเซลล์ในช่วงแรกอาจจะมีเซลล์บางส่วนที่แบ่งตัวผิดพลาดได้ ในขณะที่เซลล์อีกส่วนเป็นปกติ เมื่อพัฒนาต่อไปบางครั้งตัวอ่อนก็สามารถแก้ความผิดปกตินี้ได้ค่ะ และสุดท้ายจะกลายเป็นทารกที่มีโครโมโซมปกติ ยิ่ง % ที่เป็น Mosaic น้อยก็ยิ่งมีโอกาสที่จะสำเร็จสูง  แต่การตัดสินใจใส่ตัวอ่อนแบบนี้จำเป็นต้องเผื่อใจไว้บางเล็กน้อย เพราะไม่ใช่ทุกเคสที่จะประสบความสำเร็จ บางเคสก็อาจจะแท้งไปก่อน หรือถ้าสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ก็จำเป็นต้องทำการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจโครโมโซมยืนยันอีกรอบค่ะ ทั้งนี้บางครั้งการที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้สำเร็จก็อาจจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับโครโมโซมของตัวอ่อนเพียงอย่างเดียวก็ได้ค่ะ เพราะการใส่ตัวอ่อนกลับไปก็ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จอยู่หลายอย่าง

Ovulation

การนับวันไข่ตก อาการแบบไหนบอกว่า ไข่ตก ว่าที่คุณแม่ต้องรู้?

เนื่องจากในการตั้งครรภ์นั้น กระบวนการที่ทำให้เกิดการปฏิสนธิ ฝังตัวอ่อนจนเกิดเป็นทารกได้นั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้เพียงเดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น ซึ่งก็คือวันไข่ตกซึ่งหากมีกิจกรรมทางเพศที่ไม่ตรงกับวันนั้นๆ ก็จะทำให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์

โดยฮอร์โมนที่ควบคุมการผลิต และตกไข่ในแต่ละเดือนก็คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน LH (Luteinozing Hormone) และ FSH (Follicle Stimulating Hormone) ซึ่งนอกจากฮอร์โมนพวกนี้จะทำหน้าที่กระตุ้นและผลิตไข่ออกมาแล้ว ยังมีหน้าที่คัดเลือกฟองไข่ที่มีความเหมาะสมที่สุดเพียง 1 ใบเท่านั้น โดยไข่ใบนี้จะมีอายุเพียง 24 ชั่วโมง (วันตกไข่)  หากไม่ได้รับการปฏิสนธิจากอสุจิก็จะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน ดังนั้นหากพลาดไข่ฟองนี้ไปแล้ว อาจจะต้องรออีก 1 เดือน เพื่อให้ไข่ตกใหม่โดยวิธีการตรวจนับวันตกไข่นั้นก็สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1.วิธีนับไข่ตกด้วยตัวเอง เหมาะสำหรับคนที่มีรอบเดือนมาตรงเวลาทุกเดือนเท่านั้น

วิธีการนับให้เริ่มนับวันที่ 1 ในวันที่เริ่มมีประจำเดือนวันแรก และนับไปเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 14 ของเดือนวันนั้นถือว่าเป็น “วันไข่ตก” (Fertile Window) เช่น หากปกติประจำเดือนมาทุกวันที่ 10 ของเดือน ให้นับให้วันนั้นเป็นวันที่ 1 เมื่อนับไปจนครบ 14 วันจะตรงกับวันที่ 23 ของเดือน หากมีการวางแผนมีบุตรควรจะมีกิจกรรมทางเพศกับสามีในช่วงวันที่ 21-22 ของเดือน เป็นต้น

2.ใช้ชุดตรวจการตกไข่

  • แบบทดสอบโดยวิธีจุ่ม (Strip) วิธีคือ ให้ปัสสาวะลงในถ้วย แล้วใช้แถบตรวจจุ่มลงในถ้วยประมาณ 5 วินาที จากนั้นนำขึ้นมาวางทิ้งไว้ให้อุณหภูมิห้องประมาณ 5 นาทีค่อยอ่านผล
  • การทดสอบโดยใช้การหยด (Cassette) ใช้หยดปัสสาวะลงในแบบทดสอบประมาณ 4 หยด แล้วรออ่านผลประมาณ 5 นาที
  • แบบผ่าน (Midstream) วิธีนี้จะใช้วิธีปัสสาวะผ่านตรงตรงแบบทดสอบ รอประมาณ 5 นาที

วิธีอ่านผลไข่ตก หากขึ้น 1 ขีด หมายถึงยังไม่ใช่วันตกไข่ หากขึ้น 2 ขีดเข้มหมายถึงเป็นวันตกไข่แล้ว โดยเวลาที่เหมาะสำหรับการตรวจมากที่สุดก็คือ เวลา  14.00 น. ของวัน หากวันแรกที่ตรวจแล้วไม่ตรงกับวันตกไข่และหากต้องการตรวจซ้ำ สามารถตรวจได้แต่ควรตรวจเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน

วิธีสังเกตอาการไข่ตก วันที่ไข่ตก เราจะรู้ได้อย่างไร

1.มีตกขาวเยอะกว่าเดิม มูกไข่ตก คล้ายไข่ขาว มีมูกขาวที่ปากมดลูก (Cervical mucus)

2.มีอารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้น

3.ช่วงเวลาที่ไข่ตก อุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้น รู้สึกว่าร่างกายร้อนผ่าวเหมือนจะเป็นไข้นั้นเอง อาการไข่ตกมีได้ 2-3 วัน

4.มีอาการเจ็บตึงคัดเต้านม รู้สึกปวด ระบมมากกว่าปกติ

5.ปวดท้องน้อยข้างเดียว เนื่องจากอาการตกไข่ มักจะมีการเปลี่ยนแปลงภายในระบบเจริญพันธ์ให้เหมาะสมสำหรับฝังตัวอ่อนนั้นเอง

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Smile IVF Clinic

พร้อมให้คำปรึกษาในทุกช่องทาง

โทร. 02 097 1977

สายด่วน :

◎ 064-585-6324

◎ 064-585-6325

◎ 064-585-6326

◎ 064-585-6327

www.smileivf.com

Line : https://line.me/ti/p/@smileivf

IG : smileivf

E-mail : info@smileivf.com

Youtube : https://bit.ly/2RtAZ3P

อาคารอารีย์ ฮิลล์ (Ari Hills) ชั้น 21

428 ซอยพหลโยธิน 10, ถนนพหลโยธิน

แขวงสามเสนใน, เขตพญาไท

กรุงเทพมหานคร 10400

ICSI/IVF
What are the health risks for women with PCOS?

PCOS ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ของผู้หญิงหรือไม่?

PCOS (Polycystic Ovarian Syndrome) หมายถึงภาวะที่เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน ผู้หญิงที่เป็นโรค PCOS จะผลิตฮอร์โมนเพศชายในปริมาณที่สูงกว่าปกติ สิ่งนี้ส่งผลต่อการตกไข่และอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ในบางกรณีผู้หญิงที่เป็นโรค PCOS อาจมีประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งในทางกลับกันก็อาจทำให้ผู้หญิงเหล่านี้ตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น ในความเป็นจริง PCOS เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะมีบุตรยากในสตรี

อาการที่แสดงทั่วไปของกลุ่มอาการรังไข่หลายใบ (PCOS) คืออะไร?

สัญญาณและอาการ PCOS ทั่วไปมีดังต่อไปนี้:

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ ความผิดปกติของประจำเดือนอาจรวมถึงประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาไม่บ่อยหรือบ่อยเกินไป ประจำเดือนมามาก หรือประจำเดือนมาที่ไม่สามารถคาดเดาได้
  • ภาวะมีบุตรยาก  PCOS เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะมีบุตรยากในสตรี
  • โรคอ้วน ผู้หญิงมากถึง 80% ที่มี PCOS เป็นโรคอ้วน
  • มีขนส่วนเกินบนใบหน้า หน้าอก หน้าท้อง หรือต้นขาส่วนบน ภาวะนี้เรียกว่าขนดก  ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงมากกว่า 70% ที่มีภาวะ PCOS
  • สิวรุนแรงหรือสิวที่เกิดขึ้นหลังวัยรุ่นและไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามปกติ
  • ผิวมัน
  • แพทช์ของผิวหนังที่หนา นุ่ม และคล้ำที่เรียกว่า acanthosis nigricans
  • ถุงน้ำเล็กๆ หลายถุงในรังไข่ พบมากถึง 6 ใน 10 ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์

PCOS เกิดจากอะไร?

แม้ว่าจะไม่ทราบสาเหตุของ PCOS แต่ปรากฏว่า PCOS อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการที่ทำงานร่วมกัน ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่การดื้อต่ออินซูลินระดับฮอร์โมน เรียกว่า        แอนโดรเจน ที่เพิ่มขึ้น และรอบประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ

ความต้านทานต่ออินซูลินคืออะไร?

การดื้อต่ออินซูลินเป็นภาวะที่เซลล์ ของร่างกาย ไม่ตอบสนองต่อผลกระทบของอินซูลิน เมื่อร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้น สิ่งนี้อาจทำให้อินซูลินผลิตได้มากขึ้นเนื่องจากร่างกายพยายามเคลื่อนย้ายกลูโคสเข้าสู่เซลล์ การดื้อต่ออินซูลินสามารถนำไปสู่โรคเบาหวานได้ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับ acanthosis nigricans

แอนโดรเจนในระดับสูงสามารถนำไปสู่อะไร?

เมื่อมีการผลิตแอนโดรเจนสูงกว่าระดับปกติ (LH, DHEAS) รังไข่อาจถูกป้องกันไม่ให้ปล่อยไข่ในแต่ละเดือน (กระบวนการที่เรียกว่าการตกไข่ ) ระดับแอนโดรเจนที่สูงยังทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเส้นขนที่ไม่พึงประสงค์ และสิวที่พบในผู้หญิงจำนวนมากที่มี PCOS

ประจำเดือนมาไม่ปกติเกิดจากอะไร?

ประจำเดือนมาไม่ปกติอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้เนื่องจากการตกไข่ไม่เกิดขึ้น และยังอาจเกี่ยวข้องกับความไม่สมดุลของฮอร์โมนอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งอาจอยู่ร่วมกัน เช่น ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ระดับโปรแลคตินผิดปกติ เป็นต้น

ความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้หญิงที่มี PCOS คืออะไร?

PCOS ส่งผลกระทบต่อทุกส่วนของร่างกาย ไม่ใช่แค่ระบบสืบพันธุ์ที่เราพบในช่วงวัยเจริญพันธุ์ แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงของผู้หญิงที่จะเป็นโรคร้ายแรงที่อาจส่งผลตลอดชีวิต

การดื้ออินซูลินเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 และโรคหลอดเลือดหัวใจ เงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวข้องกับ PCOS คือกลุ่มอาการเมตาบอลิซึม โรคนี้ก่อให้เกิดทั้งโรคเบาหวานและโรคหัวใจ

ผู้หญิงที่มี PCOS มีแนวโน้มที่จะมีอาการที่เรียกว่าเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวเกินไป ซึ่งเยื่อบุมดลูกหนาเกินไป ภาวะนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

มีการรักษาสำหรับผู้หญิงที่มี PCOS หรือไม่?

มีการรักษาที่หลากหลายเพื่อแก้ไขปัญหาของ PCOS

การรักษาจะปรับให้เหมาะกับผู้หญิงแต่ละคนตามอาการ ปัญหาสุขภาพอื่นๆ และไม่ว่าต้องการตั้งครรภ์ หรือกำลังสร้างครอบครัว

ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมสามารถใช้รักษาสตรีที่มีภาวะ PCOS ได้อย่างไร?

ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมสามารถใช้ในการรักษาระยะยาวในสตรีที่มีภาวะ PCOS ที่ไม่ต้องการตั้งครรภ์

ยาเม็ดฮอร์โมนรวมมีทั้งเอสโตรเจน และโปรเจสติน ยาคุมกำเนิดเหล่านี้ควบคุมรอบประจำเดือนและลดขนดก และสิวโดยการลดระดับแอนโดรเจน นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

การลดน้ำหนักส่งผลต่อผู้หญิงที่มี PCOS อย่างไร?

สำหรับผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนักเพียงอย่างเดียวมักจะควบคุมรอบประจำเดือน แม้แต่การลดน้ำหนัก 10-15 ปอนด์ก็สามารถช่วยทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอมากขึ้นได้ การลดน้ำหนักยังพบว่าช่วยเพิ่ม ระดับ คอเลสเตอรอลและอินซูลิน และบรรเทาอาการต่างๆ เช่น การเจริญเติบโตของเส้นผมส่วนเกินและสิว

ยาที่ไวต่ออินซูลินสามารถช่วยรักษาสตรีที่มี PCOS ได้อย่างไร?

ยาที่ไวต่ออินซูลินที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานมักใช้ในการรักษา PCOS ยาเหล่านี้ช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลิน ยาเหล่านี้รับประทานหลังจากปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ในผู้หญิงที่มี PCOS สามารถช่วยลดระดับแอนโดรเจนและปรับปรุงการตกไข่ได้ การฟื้นฟูการตกไข่ช่วยให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอและคาดเดาได้มากขึ้น

สิ่งที่สามารถทำได้เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่มี PCOS?

ขั้นตอนแรกคือการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หลังจากการวิเคราะห์โดยละเอียดโดยการตรวจอัลตร้าซาวน์  ตรวจค่าฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องและนำไปสู่ผลสำเร็จ คือไข่กับมาตกตามปกติ รอบเดือนเป็นปกติ

การตกไข่ที่ประสบความสำเร็จเป็นก้าวแรกสู่การตั้งครรภ์

สำหรับผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนักมักจะบรรลุเป้าหมายการรักษาภาวะไข่ไม่ตกได้

ยากระตุ้นการตกไข่ และยาลดฮอรโมนอินซูลิน

การผ่าตัดรังไข่ ถูกนำมาใช้เมื่อการรักษาอื่นๆ ไม่ได้ผล

ICSI Process

ตอบคำถามที่พบบ่อย จะทำ ICSI กับคุณหมอ แต่บ้านอยู่ต่างจังหวัด  บ้านอยู่ต่างประเทศ ต้องมาเจอหมอบ่อยมั้ยคะ จะได้วางแผนการเดินทางถูกค่ะ

ข้อแนะนำ

ช่วงกระตุ้นไข่
คุณหมอจะนัดมาดูเป็นระยะว่ารังไข่ทั้งสองข้างมีไข่โตขนาดเท่าไหร่แล้ว มีขนาดกี่มิล.
– นัดครั้งแรกหลังประจำเดือนมา 1-2 วัน
– ครั้งที่ 2 หลังจากเริ่มฉีดยาแล้วประมาน 5-6 วัน
– ครั้งที่ 3 จะฉีดยาต่อประมาณ 2-4 วันแล้วแต่การโตของไข่

โดยประมาณ คุณหมอจะนัดมาติดตามอาการ 3-4 ครั้ง และทุกครั้งที่มาหาหมอจะต้องมาเจาะเลือดดูค่าฮอร์โมนก่อนที่จะอัลตราซาวนด์ เพื่อการให้ยาว่าต้องให้เพิ่มหรือน้อยลง หลังจากที่ไข่โตได้ขนาดที่ต้องการแล้ว คุณหมอจะนัดเก็บไข่

ช่วงเก็บไข่

ก่อนวันเก็บไข่จะต้องงดน้ำงดอาหาร (ก่อนเวลา 8 ชั่วโมง) เพราะการเก็บไข่จะต้องทำการวางยาสลบ อาการหลังเก็บไข่ ทำให้ปวดท้องหน่วงๆบ้าง หรือจะมีเลือดไหลออกมาบ้างเล็กน้อย บางคนอาจจะมีอาการท้องอืดถ้าเก็บไข่แล้วรู้สึกไม่ปกติ อืดท้อง นอนไม่ได้ ท้องบวมเหมือนคนท้อง หายใจไม่ออกให้กลับมาพบแพทย์ทันที

*หมายเหตุ การเดินทางมาครั้งที่ 4 จะขึ้นอยู่กับร่างกายและปัจจัยของแต่ละบุคคล

เริ่มกระบวนการรักษากระตุ้นไข่จนถึงวันเก็บไข่ ใช้เวลาประมาณ12-14 วัน

พบคุณหมอ ครั้งที่1 : ประจำเดือนวันที่2-3 เพื่อเริ่มรับยากระตุ้นไข่ ใช้เวลา 2 ชั่วโมง

ครั้งที่2 : ติดตามดูฟองไข่หลังฉีดยากระตุ้น 5 วัน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

ครั้งที่3 : ติดตามดูฟองไข่หลังฉีดยากระตุ้น 9 วัน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

ครั้งที่4 : วันเก็บไข่ ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมงรวมนอนพักฟื้นค่ะ สามารถเดินทางกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องนอนค้างคืนค่ะ แนะนำควรมีคนขับรถให้ เพื่อความปลอดภัยหลังจากยาสลบหมดฤทธิ์ค่ะ อาจยังมึนๆ เบลอๆ ได้ค่ะ

**หากอยากคลอดลูกให้ทันปีมังกรทอง หมอแนะนำว่าให้ใส่ตัวอ่อนภายในเดือน เมษายน 2567 นะคะ กำหนดคลอดจะยังทันคลอดในปีมังกร 2567 ค่ะ

ไข่ไม่ตก ประจําเดือนจะมาไหม

วิธีตรวจสอบวันตกไข่

การรู้วันตกไข่ (Ovulation) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลที่พยายามตั้งครรภ์หรือผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ การตกไข่ (Ovulation) หมายถึงการปล่อยไข่ออกจากรังไข่ ซึ่งโดยปกติจะเกิดขึ้นหนึ่งครั้งในแต่ละรอบประจำเดือน

ในบทความนี้ เราจะสำรวจวิธีการต่างๆ เพื่อช่วยให้คุณระบุวันตกไข่ (Ovulation) ได้อย่างแม่นยำ ถ้าไม่มีอาการอย่างหนึ่ง อย่างใดตามนี้ก็แสดงว่าคุณอาจกำลังมีภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง (PCOS) ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการมีบุตรยากนั้นเอง

1. การติดตามรอบประจำเดือน:
ขั้นตอนแรกในการกำหนดวันตกไข่ (Ovulation) คือการติดตามรอบประจำเดือน รอบประจำเดือนมักกินเวลาระหว่าง 28 ถึง 32 วัน แม้ว่าอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคนก็ตาม วันที่หนึ่งของรอบเดือนถือเป็นวันแรกของรอบเดือน ด้วยการติดตามรอบเดือนของคุณในช่วงสองสามเดือน คุณสามารถระบุรูปแบบและประมาณการว่าเมื่อใดมีแนวโน้มที่จะเกิดการตกไข่ได้ การนับใช้ได้เฉพาะกับผู้หญิงที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอเท่านั้น เช่น รอบเดือนจะมาทุกๆ 28 วันเสมอ วันไข่ตกก็อยู่ในช่วงวันที่ วันที่ 14-17 ของแต่ละเดือน (นับวันที่ประจำเดือนมาวันแรกเป็นวันที่ 1 ของรอบเดือน) เมื่อนับวันได้แล้วก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ในช่วงก่อนวันตกไข่ประมาณ 2 วัน พูดง่ายๆ ก็คือ ตั้งแต่วันที่ 12 ของรอบเดือน เพราะอสุจิจะมีชีวิตรอผสมไข่อยู่ได้ประมาณ 2 วันก่อนการตกไข่ ถ้ารอบเดือนไม่ปกติ แนะนำเป็นการเทสไข่ตกจนเจอ 2 ขีดเข้มจะแม่นยำกว่า

2. แผนภูมิอุณหภูมิร่างกายขั้นพื้นฐาน (BBT):
แผนภูมิอุณหภูมิร่างกายขั้นพื้นฐานเกี่ยวข้องกับการวัดอุณหภูมิร่างกายของคุณทุกเช้าก่อนลุกจากเตียง ในระหว่างการตกไข่ อุณหภูมิร่างกายของผู้หญิงจะสูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การทำแผนภูมิอุณหภูมิอย่างสม่ำเสมอ คุณอาจสังเกตเห็นรูปแบบของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ซึ่งบ่งชี้ว่าการตกไข่เกิดขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้น

3. การติดตามมูกปากมดลูก:
การติดตามการเปลี่ยนแปลงของมูกปากมดลูกเป็นอีกวิธีหนึ่งในการพิจารณาการตกไข่ เมื่อการตกไข่ใกล้เข้ามา ความสม่ำเสมอและลักษณะของมูกปากมดลูกจะเปลี่ยนไป จะใสขึ้น ยืดตัว และลื่นมากขึ้น คล้ายกับความคงตัวของไข่ขาว สิ่งนี้บ่งชี้ว่าคุณอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์และใกล้จะตกไข่

4. ชุดทำนายการตกไข่ (OPK):
ชุดทำนายการตกไข่มีจำหน่ายในร้านขายยาส่วนใหญ่ และเป็นวิธีที่สะดวกในการพิจารณาว่าคุณกำลังจะตกไข่เมื่อใด ชุดอุปกรณ์เหล่านี้จะตรวจจับฮอร์โมนลูทีไนซ์ซิ่ง (LH) ที่เกิดขึ้น 24 ถึง 36 ชั่วโมงก่อนการตกไข่ ด้วยการทำตามคำแนะนำที่มาพร้อมกับชุดอุปกรณ์ คุณสามารถระบุ LH ที่พุ่งสูงขึ้นและคาดการณ์ช่วงเวลาของการตกไข่ได้

5. อาการปวดท้องหน่วงๆ  ปวดท้องน้อยข้างเดียว มักจะมาพร้อมการตกไข่ หรือ เป็นอาการ Mittelschmerz ผู้หญิงบางคนมีอาการปวดกระดูกเชิงกรานเล็กน้อยหรือเจ็บท้องข้างใดข้างหนึ่งระหว่างการตกไข่ ความเจ็บปวดนี้เรียกว่า mittelschmerz การใส่ใจกับความรู้สึกไม่สบายหรือความเจ็บปวดในช่องท้องส่วนล่าง คุณอาจสามารถระบุเวลาตกไข่โดยประมาณได้

เมื่อรู้วันไข่ตกแล้วก็สามารถเริ่มมีเพศสัมพันธ์ในช่วงก่อนวันไข่ตก และหลังวันตกไข่ได้ประมาณ 2 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้ไข่และอสุจิได้มาเจอกันมากที่สุด  โดยปกติแล้วการตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อไข่ของเพศหญิงมีการปฏิสนธิในช่วงที่ตกไข่ ซึ่งใน 1 เดือน จะมีการตกไข่เพียง 1 ครั้ง และช่วงที่ไข่จะพร้อมรอการผสมจะมีช่วงเวลาอยู่แค่ 12-24 ชั่วโมงเท่านั้นในแต่ละเดือน ถ้าหากมีการปฏิสนธิหรือมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้ไข่ก็จะไปฝังตัวกับเยื่อบุผนังมดลูกกลายเป็นตัวอ่อน เกิดเป็นการตั้งครรภ์ขึ้น แต่ถ้าไข่ไม่ถูกปฏิสนธิหรือผสมไม่สำเร็จ อีก 14 วันหลังจากนั้นก็จะกลายเป็นประจำเดือนปกตินั่นเอง

การรู้วันไข่ตก สามารถช่วยผู้ที่พยายามตั้งครรภ์ หรือกำลังวางแผนครอบครัว มีลูกตามธรรมชาติได้อย่างดี . การติดตามรอบประจำเดือนของคุณ โดยใช้วิธีต่างๆ เช่น ตารางวัดอุณหภูมิร่างกายขณะตั้งครรภ์ การตรวจติดตามมูกปากมดลูก ชุดทำนายการตกไข่  และการตระหนักถึงความเจ็บปวดจากการตกไข่ (Ovulation) คุณสามารถเพิ่มโอกาสในการระบุช่วงไข่ตกได้สำเร็จ หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพการเจริญพันธุ์หรือกำลังประสบปัญหาในการตั้งครรภ์ ขอแนะนำให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมต่อไปค่ะ