ให้คำปรึกษาตรวจหาสาเหตุรักษาภาวะมีบุตรยาก

หากคู่สมรสท่านใดวางแผนจะมีบุตรโดยไม่ได้คุมกำเนิด และมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมออย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป หรือมีในช่วงที่ไข่ตก โดยพยายามเกิน 1 ปีแล้วยังไม่ตั้งครรภ์ แสดงว่าท่านมีปัญหาภาวะมีบุตรยาก หรือหากได้พยายามเกิน 6 เดือนในคู่สมรสที่ภรรยาอายุมากว่า 35 ปี ก็จัดว่ามีปัญหามีบุตรยากแล้วแนะนำให้รีบเข้ารับคำปรึกษาที่ สไมล์ ไอวีเอฟ คลินิก ซึ่งเราจะมีสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาลและนักวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์ในการดูแลรักษาภาวะมีบุตรยากเป็นอย่างดีคอยช่วยเหลือท่าน

การตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุ

ปัจจุบันพบว่า ภาวะมีบุตรยากพบได้บ่อยโดยทุกเจ็ดคู่สมรสที่พยายามจะมีบุตร จะพบปัญหานี้อย่างน้อยหนึ่งคู่ ซึ่งพบสาเหตุมาจากทั้งฝ่ายหญิงและชายใกล้เคียงกัน สาเหตุบางส่วนเกิดร่วมกัน ดังนั้นจึงควรเข้ามารับการตรวจวินิจฉัยทั้งคู่ เพื่อค้นหาสาเหตุ เมื่อคู่สมรสที่เข้ามารับการรักษาที่ สไมล์ ไอวีเอฟ คลินิก เราจะสืบค้นประวัติ เช่น อายุ ระยะเวลาการพยายามมีบุตร ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ ประวัติการตั้งครรภ์ การแท้ง ประวัติโรคประจำตัว สุขภาพทั่ว ๆ ไป เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์

ฝ่ายชาย จะได้รับการตรวจร่างกายเพื่อหาความผิดปกติของอัณฑะและอวัยวะเพศ มีตรวจวิเคราะห์จำนวน, รูปร่าง และคุณภาพของน้ำเชื้ออสุจิเพื่อประเมินประสิทธิภาพของอสุจิ

ฝ่ายหญิง จะได้รับการตรวจภายใน, อัลตราซาวด์ เพื่อประเมิน อุ้งเชิงกราน มดลูก และรังไข่ เจาะเลือดตรวจระดับฮอร์โมน เพื่อประเมินการทำงานของรังไข่ วิธีตรวจพิเศษ เช่น การฉีดสีเพื่อประเมินโพรงมดลูก และท่อนำไข่ การส่องโพรงมดลูก หรือส่องกล้องหน้าท้อง เมื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทีมได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว จะวิเคราะห์หาสาเหตุและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมของในแต่ละคู่สมรส เพื่อให้ท่านประสบความสำเร็จในการมีบุตร

ขั้นตอนและการวางแผนเพื่อการรักษา

1. การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเริ่มรักษาสามีและภรรยาที่จะเริ่มการรักษาที่ สไมล์ ไอวีเอฟ คลินิก ควรได้รับคำแนะนำในการเตรียมสุขภาพก่อนการรักษาดังนี้นอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 –
8 ชั่วโมง เข้านอนก่อนเที่ยงคืน และผ่อนคลายความเครียด ลดความวิตกกังวล จะช่วยปรับระดับฮอร์โมนเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ให้สมดุล ช่วยทำให้ท้องง่ายขึ้นออกกำลังกาย สม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก
ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร จะช่วยการทำงานรังไข่ตอบสนองต่อฮอร์โมนและการรักษาได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จ รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อน
ระหว่างการตั้งครรภ์

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้งห้าหมู่ เสริมด้วยวิตามินหรือแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการบำรุงสุขภาพร่างกาย และเพิ่มคุณภาพของเซลล์สืบพันธุ์ไข่และน้ำเชื้อ อย่างน้อย 1 เดือน ก่อนเข้ารับการรักษา เช่น

  • โฟลิกเอซิด (Folic acid) รับประทานวันละ 5 มิลลิกรัม ทั้งชายและหญิง
  • โคเอนไซม์คิวเท็น (Co-enzyme Q10) วันละ 60-100 มิลลิกรัม ทั้งชายและหญิง
  • ซิงค์ (Zinc) วันละ 50 มิลลิกรัม สำหรับชาย
  • วิตามินซี (Vitamin C) วันละ 1,000 มิลลิกรัม สำหรับชาย
  • แอลอาร์จินีน (L-Argenine) วันละ 1,000 มิลลิกรัม สำหรับหญิง
  • ดีเอชอีเอ (DHEA) วันละ 100 มิลลิกรัม สำหรับหญิง
  • แคลเซียม (Calcium) วันละ 1,000 มิลลิกรัม และวิตามินดี (Vitamin D) 400 IU สำหรับหญิง
  • วิตามินอี (Vitamin E) 800-1,000 IU ต่อวัน สำหรับหญิง
  • หยุดการสูบบุหรี่ ช่วยให้ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น มีข้อมูลยืนยันว่าในฝ่ายหญิงรังไข่จะทำงานได้ดีขึ้นทั้งจำนวนและคุณภาพ ลดอัตราการท้องนอกมดลูกและเพิ่มอัตราการคลอดมีชีวิตสูงขึ้น ในฝ่ายชายจะทำให้คุณภาพและน้ำเชื้ออสุจิดีขึ้นอย่างชัดเจน

2. งดดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติด เพื่อลดความพิการของทารก, หลีกเลี่ยงกาแฟ ชา คาเฟอีน เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จของการตั้งครรภ์

3. ควรตรวจประเมินเฉพาะก่อนการตั้งครรภ์ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กรณีที่มีโรคประจำตัวเฉพาะ เช่น เบาหวาน, ความดันโรคหัวใจ, ไทรอยด์ผิดปกติ เพื่อรักษาให้ดีก่อนจะตั้งครรภ์

การตรวจประเมินทั่วไป

ก่อนเริ่มการรักษาที่ สไมล์ ไอวีเอฟ คลินิก แพทย์จะมีการตรวจเบื้องต้นดังต่อไปนี้

  1. ตรวจเลือดเพื่อหาโรคติดเชื้อไวรัสต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการถ่ายทอดไปยังทารก เช่น เอชไอวี (HIV) ตับอักเสบบี (Hepatitis B) ตับอักเสบซี (Hepatitis C) โรคซิฟิลิส (Syphilis)
  2. ตรวจคัดกรองโรคหัดเยอรมันเพื่อให้วัคซีนป้องกันก่อนเริ่มการตั้งครรภ์
  3. ตรวจคู่สมรสเพื่อคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมียเพื่อลดความเสี่ยงในบุตร
  4. ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและส่งตรวจเพิ่มเติมหากพบความผิดปกติ
  5. ในครอบครัวที่มีประวัติการคลอด ทารกที่ผิดปกติ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ภาวะสติปัญญาอ่อน ตาบอดสี อาจต้องมีการส่งตรวจทางพันธุกรรมเพิ่มเติมก่อนเริ่มรักษา
  6. แพทย์จะประเมินความพร้อมทางจิตใจ เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าเครียด หรือ ปัญหาสุขภาพจิตอันจะส่งผลต่อกระบวนการการรักษา

การตรวจประเมินที่เกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยาก

ฝ่ายหญิง : แพทย์จะซักประวัติเพื่อหาสาเหตุ และตรวจประเมินภายในด้วยการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูความพร้อมของมดลูก, ท่อนำไข่, รังไข่ ซึ่งบอกถึงความสามารถของการตั้งครรภ์ การประเมินเซลล์ไข่คงเหลือ โดยการนับจำนวนไข่ จากอัลตราซาวด์ (Antral Follicle) หรือตรวจวัดระดับฮอร์โมนต่อมใต้สมองและรังไข่ เช่น

Anti-Mullerian Hormone (AMH), Follicle Stimulating Hormone (FSH) เพื่อบ่งบอกถึงความสามารถในการทำงานของรังไข่เชิงปริมาณ (Ovarian reserve) ช่วยเลือกการวิธีรักษาที่เหมาะสมและใช้ประมาณโอกาสสำเร็จของการตั้งครรภ์ด้วย 

ฝ่ายชาย : ตรวจน้ำเชื้ออสุจิ (Sperm Analysis) เพื่อประเมินจำนวนและคุณภาพของเชื้อ ก่อนการตรวจแนะนำให้งดหลั่งน้ำเชื้อมาก่อน 3 – 7 วัน ควรพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนวันตรวจ มีการตรวจพิเศษ DNA fragmentation test เพื่อดูความสมบูรณ์และคุณภาพของตัวอสุจิ เป็นต้น

สอบถามเพิ่มเติมที่

อาคารอารีย์ ฮิลล์ (Ari Hills) 428 ซอยพหลโยธิน 10, ถนนพหลโยธิน,
แขวงสามเสนใน, เขตพญาไท, กรุงเทพมหานคร 10400

เวลาทำการ

เปิดทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เวลา 7.30น. – 16.30น.

OPEN DAILY 07:30am – 4:30pm

ช่องทางการติดต่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Embryo Glue

กาวติดตัวอ่อน (Embryo Glue)คืออะไร จำเป็นไหม ช่วยเพิ่มโอกาสติดได้สูงขึ้น จริงหรือเปล่า -Smile IVF

กาวติดตัวอ่อน มันคืออะไร จะเหนียวติดเหมือนกาวตราช้างไหม มันช่วยให้ท้องได้เลยรึเปล่า มาไขข้อสงสัยกันค่ะ

มาทำความรู้จักตัวช่วยดีดีชื่อว่า “Embryo Glue ในการช่วยการฝังตัวอ่อน และเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้มากขึ้นอีกด้วย

Embryo glue คือ น้ำยาชนิดหนึ่งที่มีส่วนผสมของ โปรตีนที่ชื่อว่า Hyaluronan ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติในร่างกาย และจะพบเป็นจำนวนมากในเยื่อบุโพรงมดลูกในช่วงเวลาที่มีการฝังตัวของตัวอ่อน โดยสารชนิดนี้จะทำหน้าที่จับกับตัวรับ (Receptor) ที่ชื่อ CD44 ที่อยู่ที่ผิวของเยื่อบุโพรงมดลูก ในช่วงเวลาที่จะมีการฝังตัวของตัวอ่อนตามธรรมชาติ เมื่อเรานำ Hyaluronan มาผสมกับตัวอ่อน Hyaluronan จะซึมเข้าไปในเปลือกของตัวอ่อนและยึดติดกับเซลล์ของตัวอ่อนไว้ มันก็เลยเกิดแรงยึดเหนี่ยวขึ้นระหว่างตัวอ่อนกับเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้ตัวอ่อนวางอยู่บนเยื่อบุโพรงมดลูกไม่เคลื่อนที่ไหลไปไหน อีกทั้ง Hyaluronan นั้นเป็นอาหารสำหรับตัวอ่อนด้วย ตัวอ่อนจึงสามารถเจริญเติบโตได้ดีและฝังตัวลงไปบนเยื่อบุโพรงมดลูก เกิดเป็นการตั้งครรภ์ได้

โดยการทำงานของน้ำยา Embryo glue คือจะทำการเคลือบตัวอ่อนเพื่อง่ายต่อการผ่านชั้นสารน้ำที่อยู่บริเวรพื้นผิวเยื่อบุผิว และเมื่อตัวอ่อนเข้าใกล้เยื่อบุผิวโพรงมดลูกสาร Hyaluronan จะทำการยึดติดกับตัวรับระหว่างเซลล์ตัวอ่อนและเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก           ( Receptor CD44 ) หลังจากนั้นตัวอ่อนจะทำการยึดเกาะเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกนั้นเอง

เมื่อใช้กาวติดตัวอ่อนร่วมกับการย้ายตัวอ่อน

ในผู้หญิงที่ทำเด็กหลอดแก้ว ที่อายุ 30 ปีหรือน้อยกว่า อัตราการตั้งครรภ์อยู่ที่ 70-85%

ถ้าอายุ 31-34 ปี ก็ประมาณ 50%

แต่ถ้าอายุ 35 ปีหรือมากกว่า ก็เหลือแค่ประมาณ 30% เท่านั้น

จะเห็นได้ว่าอายุฝ่ายหญิงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดว่าจะท้องหรือไม่ ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาหลายๆฉบับที่แสดงให้เห็นผลในทางบวกของ Embryo Glue ที่ช่วยให้อัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ก็ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่างช่วยด้วยนะคะ

Smile IVF Clinic เราพร้อมให้คำปรึกษาเรื่อง “การมีบุตรยาก” โดยทีมแพทย์ ทีมพยาบาล ทีมนักวิทย์ฯ และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์โดยตรง รวมไปถึงเครื่องมือและห้องปฏิบัติการทางแล็บที่ทันสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ที่ผลสำเร็จสูงสุด

era-test-embryo-transfer/

ERA® การวิเคราะห์ความไวของเยื่อบุโพรงมดลูก 

ERA test (Endometrial Receptivity Analysis Test) ตัวช่วยเพิ่มโอกาสฝังตัวให้สูงขึ้นจากการย้ายตัวอ่อนวิธีปกติทั่วไป เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์โดยไม่สูญเสียตัวอ่อนที่ดี แม้แต่ตัวอ่อนที่ดีที่สุดก็ยังไม่สามารถปลูกถ่ายได้หากสภาวะผนังมดลูกไม่เหมาะสมต่อการฝังตัว โดยรายงานผลจะเป็นการให้คำแนะนำช่วงเวลาการย้ายตัวอ่อนเฉพาะบุคคล และแพทย์จะใช้ผลการวิเคราะห์เพื่อคำนวณเวลาการย้ายตัวอ่อน (โดยปรับตามการเริ่มใช้กลุ่มยา Progesterone ) ในรอบจริง.

  • ผู้หญิงจำนวนมากที่ทำเด็กหลอดแก้วไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ แม้ว่าจะย้ายตัวอ่อนคุณภาพดีไปแล้วก็ตาม แม้ว่าตัวอ่อนคุณภาพดีจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ แต่การย้ายตัวอ่อนเข้าสู่มดลูกที่พร้อมรับตัวอ่อน ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
  • ระยะเวลาในการย้ายตัวอ่อนต้องสอดคล้องกับรอบประจำเดือนของร่างกาย ไม่เร็วเกินไปหรือช้าเกินไป แต่เป็นเวลาที่เหมาะสม สำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ เวลาที่ดีที่สุดในการย้ายตัวอ่อนจะเหมือนกัน แต่สำหรับผู้หญิงบางคน อาจแตกต่างออกไป 

เยื่อบุโพรงมดลูกคืออะไร?

    • ภายในมดลูกเรียงรายไปด้วยเนื้อเยื่อที่เรียกว่าเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งจะถูกเตรียมไว้ในแต่ละเดือนสำหรับการมาถึงของตัวอ่อนและเป็นรังที่ตัวอ่อนจะฝังตัวและอาศัยอยู่ระหว่างตั้งครรภ์ แม้แต่ตัวอ่อนที่ดีที่สุดก็ยังไม่สามารถปลูกถ่ายได้หากสภาวะไม่เหมาะสม

 การเปิดกว้างของเยื่อบุโพรงมดลูกคืออะไร?

      • เยื่อบุโพรงมดลูกจะเปิดกว้างเมื่อพร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน ช่วงเวลาแห่งการเปิดกว้างนี้เรียกว่า หน้าต่างแห่งการฝังตัว
      • ผู้หญิงแต่ละคนมีหน้าต่างที่เป็นเอกลักษณ์ เมื่อทราบช่วงเวลาของการฝังตัวส่วนบุคคลคุณจะสามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์โดยการย้ายตัวอ่อนแบบเฉพาะบุคคลได้

ทำไมต้องทำ ERA?

  • เมื่อทำการย้ายตัวอ่อนด้วยวิธีเฉพาะบุคคลโอกาสที่จะตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นหลังการรักษา
  • 72.5%* อัตราการตั้งครรภ์โดยใช้ ERAใน ครั้งแรกในผู้ป่วยทุกราย
  • เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงสุดและไม่สูญเสียตัวอ่อนที่ดี
  • ผู้หญิง7 ใน 10 ราย ตั้งครรภ์ได้ หลังผ่านไป 1 ปี*
  • การศึกษาแบบสุ่มล่าสุด* ของเราพิสูจน์ให้เห็นว่า การย้ายตัวอ่อนร่วมกับ ERAให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
  • การตรวจ ERA นั้นจะต้องใช้เวลาในการตรวจประมาณ 1 รอบเดือน โดยจะเริ่มด้วยการกินยาเพื่อเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกเมื่อประจำเดือนมาเหมือนในขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนปกติ และเมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกหนาได้ที่ก็จะทำการเริ่มยาโปรเจสเตอโรนเป็นเวลา 5 วัน ก่อนที่จะทำการดูดเก็บเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อส่งตรวจหาการแสดงออกของยีน (gene expression) มากกว่า 200 ยีน ซึ่งเป็นยีนที่แสดงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการย้ายตัวอ่อน

การทดสอบ ERA คืออะไร?
  • ERA® คือการทดสอบวินิจฉัยครั้งแรก ที่กำหนดเวลาการย้ายตัวอ่อนเฉพาะบุคคลของผู้หญิงแต่ละคน ดังนั้นจึงเป็นการประสานการย้ายตัวอ่อน กับผลการทดสอบหน้าต่างการฝังตัวที่เป็นรายบุคคล
ERA เหมาะกับคุณหรือเปล่า?
  • การตรวจ ERA นั้นไม่จำเป็นต้องตรวจในผู้ที่จะทำการย้ายตัวอ่อนทุกคน แต่ผู้ที่เหมาะสมที่จะตรวจ ERA ก็คือ คนที่เคยย้ายตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีแล้วไม่ตั้งครรภ์ ผู้ที่มีตัวอ่อนน้อยและต้องการความมั่นใจในช่วงเวลาย้ายตัวอ่อน

ค่าใช้จ่าย

  • ERA® Test ค่าใช้จ่ายรวมเบ็ดเสร็จประมาณ 50,000บาทค่ะ รวมยาเตรียมผนังมดลูก ค่าธรรมเนียมแพทย์ ค่าอัลตราซาวด์ และ ค่าส่งชิ้นเนื้อไปตรวจค่ะ รายงานผล ERA TEST จะออกหลังจากทำ ERA TEST 20 วันค่ะ
Apply for a Marriage Certificate -

คำถามเกี่ยวกับกฎหมาย รักษาภาวะมีบุตรยากใน ประเทศไทย

คำถามที่พบบ่อย ไม่จดทะเบียนสมรส ทำเด็กหลอดแก้วได้หรือเปล่าคะ

  • เพื่อเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก จำเป็นต้องมีทะเบียนสมรส เพราะประเทศไทยมีกฎหมายว่าคู่สมรสต้องจดทะเบียนสมรสจึงจะทำ IUI และ IVF ICSI ในประเทศไทยได้ คุณจำเป็นต้องนำทะเบียนสมรสติดตัวมาที่โรงพยาบาลด้วยทุกครั้งที่เริ่มทำการรักษาภาวะมีบุตรยาก มิฉะนั้นแพทย์จะมีความผิดทางกฏหมายแพทย์สภา

คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในต่างประเทศ ฉันสามารถใช้วิธีการ IUI และ IVF ในประเทศไทยได้หรือไม่

  • ประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการรักษาเด็กหลอดแก้วกับคู่สมรสเพศเดียวกันที่ต้องการทำ IVF ICSI หรือ IUI ไม่สามารถทำในประเทศไทยได้ โดยกฎหมายบังคับใช้กับพลเมืองสัญชาติไทยและคู่สมรสต่างชาติ ถึงแม้จะแต่งงานอย่างถูกกฎหมายในต่างประเทศก็ตาม

 

ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งตัวอ่อนมีอย่างไรบ้าง

  • ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งตัวอ่อนมีดังต่อไปนี้
  • คู่สมรสที่ต้องการแช่แข็งตัวอ่อนต้องสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  • ก่อนการแช่แข็งตัวอ่อน ทั้งสามีและภรรยาต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอม”
  • คู่สมรสต้องตรวจร่างกายเพื่อดูว่าเป็นโรคติดต่อหรือไม่
  • ตรวจคัดกรองเพื่อแยกตัวอ่อนที่ “ติดเชื้อ” ออกจากตัวอ่อนที่ “ไม่ติดเชื้อ” (เช่น มีเชื้อ HIV/ไม่มีเชื้อ HIV)
  • สามีหรือภรรยาที่ต้องการใช้ตัวอ่อนของคู่สมรสที่เสียชีวิตไปแล้วต้องมีเอกสารยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคู่สมรสก่อนเสียชีวิต
    ต้องรายงานต่อกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย) หากต้องการใช้ตัวอ่อนแช่แข็งหลังการเสียชีวิตของคู่สมรส
  • อาจไม่สามารถใช้ตัวอ่อนแช่แข็งของคู่สมรสที่เสียชีวิตมานานกว่า 5 ปีได้

 

ในประเทศไทย สามารถตรวจคัดกรองความผิดปกติทางกันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัวได้หรือไม่

  • ประเทศไทยอนุญาตให้มีการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัวและสามารถทำในกรณีดังต่อไปนี้
  • ฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 35 ปี
  • ฝ่ายหญิงมีประวัติการแท้งมากกว่า 2 ครั้งในขณะอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ หรือผลการตรวจยืนยันว่า การแท้งครั้งก่อนเกิดจากทารกมีพันธุกรรมผิดปกติ
  • มีประวัติตั้งครรภ์ที่ทารกมีความผิดปกติอันเนื่องจากความผิดปกติของโครโมโซม
  • ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากทำ IVF มาแล้ว 2 ครั้งติดต่อกัน
  • เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมที่อาจถ่ายทอดสู่ตัวอ่อน
  • เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อน
  • เพื่อรักษาบุตรที่ป่วยเป็นโรคด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดในสายสะดือของทารกแรกคลอดที่มีเนื้อเยื่อเข้ากันได้
amh ต่ำ รังไข่เสื่อม

ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัย

ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัย (วัยทองก่อนวัยอันควร) คือภาวะที่รังไข่ทำงานผิดปกติไป ในขณะที่อายุยังน้อย (น้อยกว่า 40ปี)

โดยธรรมชาติแล้ว รังไข่จะค่อยๆ ทำงานด้อยประสิทธิภาพลงตามอายุเพิ่มขึ้น และหยุดทำงานเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เมื่อรังไข่หยุดทำงาน ก็คือไม่มีการตกไข่ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอาการภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัย ไม่ได้ไม่มีการตกไข่เลย เพียงแต่ว่ารังไข่มีการทำงานผิดปกติไปจากเดิม โดยอาจจะการตกไข่เกิดขึ้นเพียงครั้งคราวเท่านั้น

โดยภาวะนี้มีสาเหตุมาจาก

1.ประจำเดือนขาด พบได้ประมาณร้อยละ 2-10

2.เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ก่อนประจำเดือนจะขาด เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด โดยมักจะขาดไปหลังการ

3.ตั้งครรภ์ หรือหลังจากหยุดยาคุมกำเนิด

4.โครโมโซมผิดปกติ พบได้ประมาณร้อยละ 10

5.ภาวะมีบุตรยาก พบน้อย

6.อื่นๆ เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การทำเคมีบำบัด

Platelet-Rich Plasma (PRP) คืออะไร ?
PRP คือ พลาสมาที่อุดมไปด้วยเกล็ดเลือด ซึ่งได้จากการสกัดเลือดจากคนไข้เอง แล้วนำมาปั่นผ่านกระบวนการคัดแยกให้ได้เกล็ดเลือดเข้มข้นกว่าปกติ 4-5 เท่า ทั้งนี้แพทย์จะสามารถควบคุมอุณหภูมิระหว่างปั่นไม่ให้กระทบต่อสารชีวภาพในเกล็ดเลือดได้ ทำให้รักษาสารสำคัญต่างๆ ไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การฉีด PRP จะช่วยรักษาอาการ และฟื้นฟูเนื้อเยื่อได้หลายชนิด เพราะในเกล็ดเลือดมี Growth Factor และ Cytokines อันเป็นสารประกอบที่ช่วยกระตุ้นเซลล์รอบๆ เนื้อเยื่อให้เกิดกระบวนการฟื้นฟูและแบ่งตัวตามกลไกธรรมชาติได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การฉีด PRP เหมาะสำหรับใครบ้าง ?

1.ผู้ที่มีปัญหารังไข่เสื่อมก่อนวัย การทำ PRP จะช่วยกระตุ้นระดับฮอร์โมนให้การทำงานของรังไข่ให้ดีขึ้น หลังฉีดแล้วพบว่า คนไข้ส่วนใหญ่มีระดับ AMH (ฮอร์โมนที่บอกถึงจำนวนไข่) เพิ่มขึ้น

2.ผู้ที่มีภาวะรังไข่ตอบสนองต่อการกระตุ้นต่ำ
ผู้ที่มีปัญหาเยื่อบุโพรงมดลูกบางจนไม่สามารถย้ายตัวอ่อนได้ เมื่อได้รับการฉีด PRP ก่อนการสอดยาโปรเจสเตอโรน พบว่าช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น และมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเยื่อบุโพรงมดลูกเพิ่มขึ้น

3.ผู้ที่ทำการกระตุ้นไข่ แต่ได้ตัวอ่อนไม่แข็งแรง ไม่ถึงระยะ blastocyst หรือตรวจโครโมโซมไม่ผ่าน

กระบวนการในการฉีด PRP

ใช้ระยะเวลาประมาณ 20 นาที เมื่อนำเลือดไปปั่นแยกแล้ว สามารถนำฉีดเข้าโพรงมดลูกหรือฉีดบริเวณเนื้อรังไข่ได้โดยไม่ต้องผ่าตัด และไม่ต้องพักฟื้น มีการวางยาสลบโดยวิสัญญีแพทย์ จึงไม่ควรขับรถกลับบ้านเองตามลำพัง เพื่อความปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีผลการวิจัยรองรับในเรื่องการเพิ่มจำนวนไข่ รวมถึงอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ หรือโอกาสในการเกิดมะเร็งที่รังไข่จากการฉีด PRP ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

 

illumina-NGS (Next-generation sequencing)

ข้อบ่งชี้ในการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน 

การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนด้วยเทคนิค NGS เหมาะกับคู่สมรสที่ทำเด็กหลอดแก้วทั้ง IVF และ ICSI ในกรณีที่

1.คุณแม่อายุมากกว่า 35 ปี
2.คุณแม่มีประวัติแท้งซ้ำมากกว่า 2 ครั้ง ในช่วงที่อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์
3.คุณแม่มีประวัติแท้ง และตรวจตัวอ่อนพบว่าตัวอ่อนที่แท้งไปมีพันธุกรรมผิดปกติ
4.คู่สมรสเคยทำเด็กหลอดแก้ว ไม่ว่าจะเป็น IVF หรือ ICSI มากกว่า 2 ครั้ง แล้วตั้งครรภ์ไม่สำเร็จ
5.คู่สมรสทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีพันธุกรรมผิดปกติ หรือทราบว่าเป็นพาหะ
6.คู่สมรสเคยมีลูกที่พิการ หรือมีพันธุกรรมผิดปกติ
7.มีคนในครอบครัวเป็นโรคทางพันธุกรรม
8.คุณพ่อมีอสุจิที่ผิดปกติอย่างรุนแรง
9.มีเหตุจำเป็นที่จะต้องใช้ประโยชน์จากสเต็มเซลล์ของทารก เพื่อตรวจดูก่อนว่าตัวอ่อนที่จะย้ายไปเพื่อตั้งครรภ์ มีพันธุกรรมที่สามารถนำสเต็มเซลล์ไปใช้กับคนในครอบครัวที่กำลังป่วยอยู่ได้หรือไม่

การตรวจโครโมโซม PGS จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อยตามเทคนิคที่ใช้ตรวจ ได้แก่

2.1 FISH (Fluorescence in situ Hybridization) เป็นเทคนิคเก่า ที่จะตรวจโดยการย้อมสีโครโมโซม และนับจำนวนว่ามีจุดสีครบคู่หรือไม่ แต่วิธีการนี้ สีที่ย้อมจะติดที่โครโมโซมเพียง 9 คู่ ทำให้ผลการตรวจไม่แม่นยำเท่าใดนัก

2.2 CCS (Comprehensive Chromosome Screening) เป็นเทคนิคที่จะตรวจโดยใช้ DNA ของตัวอ่อนจับคู่กับ DNA ควบคุม ทำให้สามารถตรวจนับได้ครบทั้ง 23 คู่ ทำให้ผลการตรวจแม่ยำมากขึ้น

2.3 NGS (Next Generation Sequencing) เป็นเทคนิคใหม่ล่าสุดในการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนที่จะตรวจโดยการหาลำดับเบส (นิวคลีโอไทด์) ของตัวอ่อน ทำให้ได้ข้อมูลของโครโมโซมและสารพันธุกรรมอย่างละเอียด ทั้งยังทำได้เร็ว และค่าใช้จ่ายถูกกว่าการทำ CCS จึงเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

ขั้นตอนการตรวจโครโมโซมด้วยเทคนิค NGS

1. เก็บตัวอย่างเซลล์ออกมาจากตัวอ่อน

การเก็บตัวอย่างเซลล์ จะทำเมื่อเพาะเลี้ยงตัวอ่อนได้ประมาณ 5 วัน จนตัวอ่อนเข้าสู่ระยะ Blastocyst เนื่องจากเป็นระยะที่มีเซลล์จำนวนมากพอ และพร้อมที่จะย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกแล้ว การเก็บเซลล์ออกมาเพื่อตรวจโครโมโซมจะเก็บออกมาประมาณ 3 – 5 เซลล์ ขั้นตอนนี้จะต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะที่ทันสมัย และต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะหากผิดพลาดอาจทำให้ตัวอ่อนเสียหาย จนโอกาสตั้งครรภ์ลดลงได้

2. เพิ่มจำนวนสารพันธุกรรม

การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนด้วยเทคนิค NGS จะต้องใช้สารพันธุกรรมเป็นจำนวนมาก แต่สารพันธุกรรมที่ได้จากเซลล์ตัวอ่อนเพียง 3 – 5 เซลล์นั้นไม่เพียงพอ จึงต้องเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมก่อนจะเข้ากระบวนการ NGS

3. นำไปตรวจด้วยเทคนิค NGS

การตรวจด้วยเทคนิค NGS จะทำโดยแยก DNA หรือ RNA ออกจากกันจนเป็นเบสสายสั้นๆ และเข้ากระบวนการให้สารพันธุกรรมกลับมาต่อกันจนกลายเป็นจีโนม (Genome) หรือ DNA ที่เป็นรูปเกลียว จากนั้นผู้เชี่ยวชาญจะนำข้อมูลของจีโนมไปวิเคราะห์ต่อว่ามีความผิดปกติหรือไม่

ที่คลินิกรักษาผู้มีบุตรยากSmile IVF Clinic เราให้บริการตรวจด้วยเทคนิคใหม่ล่าสุดอย่าง NGS ซึ่งมีจุดประสงค์หลักเพื่อลดความเสี่ยงการแท้ง ก่อนย้ายตัวอ่อนใส่กลับเข้าไป กรณีทำ IVF หรือ ICSI ช่วยให้เกิดผลสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก และหลีกเลี่ยงผลกระทบทางจิตใจในกรณีที่แท้งบุตรอีกด้วย

นอกจากนี้ การตรวจโครโมโซมของตัวอ่อนยังมีประโยชน์ในรายที่คุณหรือคู่สมรสมีความผิดปกติของสารพันธุกรรมหรือเป็นพาหะของโรคต่างๆ อย่างเช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคธาลัสซีเมีย หรือโรคมะเร็งเต้านมที่มียีนกลายพันธุ์ที่ผิดปกติ ถ้าคนในครอบครัวหรือว่าคู่สมรสของคุณมีปัญหาดังต่อไปนี้ ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะมีบุตรยาก เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

ivf-icsi

ความแตกต่างระหว่างการรักษาด้วย IVF และ ICSI คืออะไร

การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) และการฉีดอสุจอเข้าไปในเซลล์ไข่ (ICSI) คือการนำไข่และอสุจิจากคู่สมรสออกมาปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ความแตกต่างอยู่ที่กระบวนการในการทำให้เกิดการปฏิสนธิ โดยที่การทำ IVF ปล่อยให้อสุจิและไข่ผสมกันเองตาม “ธรรมชาติ” ในขณะที่การทำ ICSI เป็นการคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงสมบูรณ์เพียงตัวเดียวและใช้เข็มฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง เพื่อเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิ

การเลือกไข่รอบสดหรือไข่รอบแช่แข็งในการรักษาด้วย IVF หรือ ICSI มีความแตกต่างกันอย่างไร

การย้ายตัวอ่อนรอบสด (Fresh Cycle) คือการย้ายตัวอ่อนในรอบที่ทำการกระตุ้นและเก็บไข่ และนำมาปฎิสนธินอกร่างกาย ถ้าตัวอ่อนเติบโตดี จึงจะทำการย้ายตัวอ่อนที่คัดเลือกเข้าสู่โพรงมดลูกต่อไป

ข้อดีของการย้ายตัวอ่อนรอบสด
1.สามารถย้ายตัวอ่อนเข้าไปในมดลูกได้ทันทีหรือภายใน 6 วันหลังเก็บไข่ จึงไม่เสียเวลาในการเตรียมโพรงมดลูก
2.ตัวอ่อนไม่ต้องผ่านกระบวนการแช่แข็งและละลายตัวอ่อน
ลดค่าใช้จ่ายในการแช่แข็งและเก็บรักษาตัวอ่อน

การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง (Frozen Cycle)

เป็นการใช้ตัวอ่อนที่แช่แข็งมาละลาย และย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกที่เตรียมพร้อมไว้

ข้อดีของการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง
1.สามารถนัดเวลาในการใส่ตัวอ่อนได้เมื่อพร้อม
2.ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการเก็บไข่ คือภาวะรังไข่วมน้ำ
3.ไข่แช่แข็งสามารถเก็บได้เป็นระยะเวลานาน
4.โอกาสประสบความสำเร็จสูงกว่าการใช้ตัวอ่อนรอบสด มีเวลาเตรียมผนังให้พร้อมฝังตัวอ่อน โอกาสมากถึง 80%

การรักษาด้วยวิธีการ IVF หรือ ICSI ใช้เวลานานเท่าไรและต้องอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลามากน้อยแค่ไหน

โดยปกติ ขั้นตอนการทำ IVF หรือ ICSI ใช้เวลาประมาณ 3-8 สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการนำไข่ออกมา การปฏิสนธิและการย้ายตัวอ่อน) โดยแต่ละกรณีมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ เช่น อายุ ภาวะเจริญพันธุ์และระดับฮอร์โมน

ระยะเวลาในการทำ IVF หรือ ICSI มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

วงจรของการทำ IVF หรือ ICSI เริ่มขึ้นในวันที่สองของการมีประจำเดือนของคุณในวันที่ใกล้เคียงกับการรักษาด้วยวิธีการ IVF มากที่สุดหลังจากนั้นแพทย์จะเริ่มกระบวนการกระตุ้นรังไข่ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 8-14 วัน

แพทย์จะฉีดฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้ไข่ตก และทำการเก็บไข่แบบ OPD ไม่ต้อง admit
อสุจิของฝ่ายชายจะถูกเก็บวันเดียวกับวันที่เก็บไข่ของฝ่ายหญิง

ถ้าต้องมีการทำ TESE หรือการทำ PESA จะต้องทำก่อนวันที่เก็บไข่หรือในวันที่เก็บไข่
การปฏิสนธิของไข่สดและไข่แช่แข็งใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเก็บไข่ออกมา

หากประสบความสำเร็จในการปฏิสนธิ การย้ายตัวอ่อนจะทำ 3 – 5 วันหลังจากนั้นหากเลือกไข่รอบสด แต่หากเลือกไข่รอบแช่แข็งก็สามารถนัดวันย้ายตัวอ่อนหลังจากนั้นได้
หลังจากย้ายตัวอ่อนได้ 7-14 วัน แพทย์จะทดสอบว่าคุณตั้งครรภ์หรือไม่

การตั้งครรภ์ด้วยวิธี IVF หรือ ICSI จะต้องดูแลครรภ์ด้วยวิธีการที่แตกต่างจากวิธีการตั้งครรภ์ปกติอย่างไร

เมื่อประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ด้วยวิธีการ IVF หรือ ICSI สูติแพทย์จะนัดติดตามผลการตั้งครรภ์ ซึ่งรวมถึงการตรวจฮอร์โมนและการตรวจอัลตร้าซาวด์ ในช่วง 10-12 สัปดาห์อย่างไรก็ตามการตั้งครรภ์แต่ละครั้งมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะตั้งครรภ์ด้วยวิธีการปกติหรือโดยการทำ IVF หรือ ICSI นอกจากนี้อาจต้องมาพบแพทย์บ่อยกว่าการตั้งครรภ์ด้วยวิธีการปกติและอาจต้องได้รับยากันแท้ง หรือฮอร์โมนเพิ่มเติมโดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

ICSI ตรวจโครโมโซม | Mosaicism Embryos

อยากทราบว่าภาวะ โมเซอิก ( Mosaicism Embryos) คืออะไร? ไขข้อสงสัยในกระบวนการทำ ICSI ตรวจโครโมโซม ถ้าใส่ตัวอ่อน ลูกจะออกมาผิดปกติมั้ย?

ในปัจจุบันมีการพิจารณาให้ย้ายตัวอ่อน Mosaicsm ได้ ในกรณีไม่มีตัวอ่อนปกติที่สามารถย้ายได้เลย! แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงตัวอ่อนที่มีภาวะ Mosaicism ในโครโมโซมคู่ที่ 13, 18, 21, X, Y รวมถึงโครโมโซมคู่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงอื่นๆ เพราะความผิดปกติดังกล่าวถือเป็นภาวะ Mosaicism ที่มีความเสี่ยงสูงมากต่อการเกิดทารกที่ผิดปกติ จะพิจารณาร่วมกับแพทย์ที่รักษาเป็นหลักค่ะ

ภาวะโมเซอิก (Mosaic) จะเจอได้ในกรณีที่คนไข้ทำกระบวนการ ICSI ได้ตัวอ่อน และดึงเซลล์มาตรวจแล้ว และได้ผลแล้ว เวลาแปลผล เราจะมี 3 อย่างหลักๆ คือ

  • 1. ผลปกติ
  • 2.ผลผิดปกติ ไม่แนะนำให้ใส่ตัวอ่อน
  • 3. ภาวะโมเซอิก (Mosaic) คือภาวะที่มีเซลล์ตัวอ่อนดี และไม่ดีปนกัน

โดยปกติแล้วในการดึงเซลล์ตัวอ่อนเค้าจะดึงมาตรวจทุกโครโมโซม แล้วดูว่ามีความผิดปกติกี่เปอร์เซ็น ถ้าสมมุติความผิดปกตินั้นน้อยกว่า 20% เค้าจะถือว่าตัวอ่อนนั้นเป็นปกติ

แต่ถ้าความผิดปกตินั้นมากกว่า 80% เค้าจะถือว่าตัวอ่อนตัวนี้ผิดปกติ ถ้าสมมุติ โมเซอิก(Mosaic) แค่ 25%-30% คือน้อยๆ น่าจะมีโอกาสที่ตัวอ่อนนี้พัฒนาให้เซลล์ดีเยอะกว่าไม่ดีได้ และกลับมาเป็นปกติได้ก็จะลองใส่ดู

กรณีที่เราไม่มีตัวอ่อนปกติเลย เพราะฉะนั้นบอกตามตรงเลยว่าต้องลุ้นอย่างเดียวเลย ว่ามีโอกาสท้อง และได้น้องที่ปกติ เช่นเดียวกันก็มีโอกาสไม่ท้อง หรือเด็กไม่ปกติหรือว่าบางคนไม่ฝังตัว บางคนท้องแล้วแท้งก็มี โดยคุณหมอจะเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงเป็นเคสๆไป

ตัวอ่อนที่เป็น Mosaic ถือว่าก็ยังมีโอกาสโตไปเป็นทารกที่ปกติได้ค่ะ เพราะการสุ่มเซลล์มาตรวจโครโมโซมเป็นการเอาจากส่วนที่จะพัฒนาไปเป็นรก ไม่ใช่ส่วนที่จะเป็นเด็ก ซึ่งในบางครั้งระหว่างการแบ่งเซลล์ในช่วงแรกอาจจะมีเซลล์บางส่วนที่แบ่งตัวผิดพลาดได้ ในขณะที่เซลล์อีกส่วนเป็นปกติ เมื่อพัฒนาต่อไปบางครั้งตัวอ่อนก็สามารถแก้ความผิดปกตินี้ได้ค่ะ และสุดท้ายจะกลายเป็นทารกที่มีโครโมโซมปกติ ยิ่ง % ที่เป็น Mosaic น้อยก็ยิ่งมีโอกาสที่จะสำเร็จสูง  แต่การตัดสินใจใส่ตัวอ่อนแบบนี้จำเป็นต้องเผื่อใจไว้บางเล็กน้อย เพราะไม่ใช่ทุกเคสที่จะประสบความสำเร็จ บางเคสก็อาจจะแท้งไปก่อน หรือถ้าสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ก็จำเป็นต้องทำการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจโครโมโซมยืนยันอีกรอบค่ะ ทั้งนี้บางครั้งการที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้สำเร็จก็อาจจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับโครโมโซมของตัวอ่อนเพียงอย่างเดียวก็ได้ค่ะ เพราะการใส่ตัวอ่อนกลับไปก็ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จอยู่หลายอย่าง

Ovulation

การนับวันไข่ตก อาการแบบไหนบอกว่า ไข่ตก ว่าที่คุณแม่ต้องรู้?

เนื่องจากในการตั้งครรภ์นั้น กระบวนการที่ทำให้เกิดการปฏิสนธิ ฝังตัวอ่อนจนเกิดเป็นทารกได้นั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้เพียงเดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น ซึ่งก็คือวันไข่ตกซึ่งหากมีกิจกรรมทางเพศที่ไม่ตรงกับวันนั้นๆ ก็จะทำให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์

โดยฮอร์โมนที่ควบคุมการผลิต และตกไข่ในแต่ละเดือนก็คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน LH (Luteinozing Hormone) และ FSH (Follicle Stimulating Hormone) ซึ่งนอกจากฮอร์โมนพวกนี้จะทำหน้าที่กระตุ้นและผลิตไข่ออกมาแล้ว ยังมีหน้าที่คัดเลือกฟองไข่ที่มีความเหมาะสมที่สุดเพียง 1 ใบเท่านั้น โดยไข่ใบนี้จะมีอายุเพียง 24 ชั่วโมง (วันตกไข่)  หากไม่ได้รับการปฏิสนธิจากอสุจิก็จะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน ดังนั้นหากพลาดไข่ฟองนี้ไปแล้ว อาจจะต้องรออีก 1 เดือน เพื่อให้ไข่ตกใหม่โดยวิธีการตรวจนับวันตกไข่นั้นก็สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1.วิธีนับไข่ตกด้วยตัวเอง เหมาะสำหรับคนที่มีรอบเดือนมาตรงเวลาทุกเดือนเท่านั้น

วิธีการนับให้เริ่มนับวันที่ 1 ในวันที่เริ่มมีประจำเดือนวันแรก และนับไปเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 14 ของเดือนวันนั้นถือว่าเป็น “วันไข่ตก” (Fertile Window) เช่น หากปกติประจำเดือนมาทุกวันที่ 10 ของเดือน ให้นับให้วันนั้นเป็นวันที่ 1 เมื่อนับไปจนครบ 14 วันจะตรงกับวันที่ 23 ของเดือน หากมีการวางแผนมีบุตรควรจะมีกิจกรรมทางเพศกับสามีในช่วงวันที่ 21-22 ของเดือน เป็นต้น

2.ใช้ชุดตรวจการตกไข่

  • แบบทดสอบโดยวิธีจุ่ม (Strip) วิธีคือ ให้ปัสสาวะลงในถ้วย แล้วใช้แถบตรวจจุ่มลงในถ้วยประมาณ 5 วินาที จากนั้นนำขึ้นมาวางทิ้งไว้ให้อุณหภูมิห้องประมาณ 5 นาทีค่อยอ่านผล
  • การทดสอบโดยใช้การหยด (Cassette) ใช้หยดปัสสาวะลงในแบบทดสอบประมาณ 4 หยด แล้วรออ่านผลประมาณ 5 นาที
  • แบบผ่าน (Midstream) วิธีนี้จะใช้วิธีปัสสาวะผ่านตรงตรงแบบทดสอบ รอประมาณ 5 นาที

วิธีอ่านผลไข่ตก หากขึ้น 1 ขีด หมายถึงยังไม่ใช่วันตกไข่ หากขึ้น 2 ขีดเข้มหมายถึงเป็นวันตกไข่แล้ว โดยเวลาที่เหมาะสำหรับการตรวจมากที่สุดก็คือ เวลา  14.00 น. ของวัน หากวันแรกที่ตรวจแล้วไม่ตรงกับวันตกไข่และหากต้องการตรวจซ้ำ สามารถตรวจได้แต่ควรตรวจเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน

วิธีสังเกตอาการไข่ตก วันที่ไข่ตก เราจะรู้ได้อย่างไร

1.มีตกขาวเยอะกว่าเดิม มูกไข่ตก คล้ายไข่ขาว มีมูกขาวที่ปากมดลูก (Cervical mucus)

2.มีอารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้น

3.ช่วงเวลาที่ไข่ตก อุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้น รู้สึกว่าร่างกายร้อนผ่าวเหมือนจะเป็นไข้นั้นเอง อาการไข่ตกมีได้ 2-3 วัน

4.มีอาการเจ็บตึงคัดเต้านม รู้สึกปวด ระบมมากกว่าปกติ

5.ปวดท้องน้อยข้างเดียว เนื่องจากอาการตกไข่ มักจะมีการเปลี่ยนแปลงภายในระบบเจริญพันธ์ให้เหมาะสมสำหรับฝังตัวอ่อนนั้นเอง

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Smile IVF Clinic

พร้อมให้คำปรึกษาในทุกช่องทาง

โทร. 02 097 1977

สายด่วน :

◎ 064-585-6324

◎ 064-585-6325

◎ 064-585-6326

◎ 064-585-6327

www.smileivf.com

Line : https://line.me/ti/p/@smileivf

IG : smileivf

E-mail : info@smileivf.com

Youtube : https://bit.ly/2RtAZ3P

อาคารอารีย์ ฮิลล์ (Ari Hills) ชั้น 21

428 ซอยพหลโยธิน 10, ถนนพหลโยธิน

แขวงสามเสนใน, เขตพญาไท

กรุงเทพมหานคร 10400

ICSI/IVF
What are the health risks for women with PCOS?

PCOS ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ของผู้หญิงหรือไม่?

PCOS (Polycystic Ovarian Syndrome) หมายถึงภาวะที่เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน ผู้หญิงที่เป็นโรค PCOS จะผลิตฮอร์โมนเพศชายในปริมาณที่สูงกว่าปกติ สิ่งนี้ส่งผลต่อการตกไข่และอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ในบางกรณีผู้หญิงที่เป็นโรค PCOS อาจมีประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งในทางกลับกันก็อาจทำให้ผู้หญิงเหล่านี้ตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น ในความเป็นจริง PCOS เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะมีบุตรยากในสตรี

อาการที่แสดงทั่วไปของกลุ่มอาการรังไข่หลายใบ (PCOS) คืออะไร?

สัญญาณและอาการ PCOS ทั่วไปมีดังต่อไปนี้:

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ ความผิดปกติของประจำเดือนอาจรวมถึงประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาไม่บ่อยหรือบ่อยเกินไป ประจำเดือนมามาก หรือประจำเดือนมาที่ไม่สามารถคาดเดาได้
  • ภาวะมีบุตรยาก  PCOS เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะมีบุตรยากในสตรี
  • โรคอ้วน ผู้หญิงมากถึง 80% ที่มี PCOS เป็นโรคอ้วน
  • มีขนส่วนเกินบนใบหน้า หน้าอก หน้าท้อง หรือต้นขาส่วนบน ภาวะนี้เรียกว่าขนดก  ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงมากกว่า 70% ที่มีภาวะ PCOS
  • สิวรุนแรงหรือสิวที่เกิดขึ้นหลังวัยรุ่นและไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามปกติ
  • ผิวมัน
  • แพทช์ของผิวหนังที่หนา นุ่ม และคล้ำที่เรียกว่า acanthosis nigricans
  • ถุงน้ำเล็กๆ หลายถุงในรังไข่ พบมากถึง 6 ใน 10 ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์

PCOS เกิดจากอะไร?

แม้ว่าจะไม่ทราบสาเหตุของ PCOS แต่ปรากฏว่า PCOS อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการที่ทำงานร่วมกัน ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่การดื้อต่ออินซูลินระดับฮอร์โมน เรียกว่า        แอนโดรเจน ที่เพิ่มขึ้น และรอบประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ

ความต้านทานต่ออินซูลินคืออะไร?

การดื้อต่ออินซูลินเป็นภาวะที่เซลล์ ของร่างกาย ไม่ตอบสนองต่อผลกระทบของอินซูลิน เมื่อร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้น สิ่งนี้อาจทำให้อินซูลินผลิตได้มากขึ้นเนื่องจากร่างกายพยายามเคลื่อนย้ายกลูโคสเข้าสู่เซลล์ การดื้อต่ออินซูลินสามารถนำไปสู่โรคเบาหวานได้ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับ acanthosis nigricans

แอนโดรเจนในระดับสูงสามารถนำไปสู่อะไร?

เมื่อมีการผลิตแอนโดรเจนสูงกว่าระดับปกติ (LH, DHEAS) รังไข่อาจถูกป้องกันไม่ให้ปล่อยไข่ในแต่ละเดือน (กระบวนการที่เรียกว่าการตกไข่ ) ระดับแอนโดรเจนที่สูงยังทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเส้นขนที่ไม่พึงประสงค์ และสิวที่พบในผู้หญิงจำนวนมากที่มี PCOS

ประจำเดือนมาไม่ปกติเกิดจากอะไร?

ประจำเดือนมาไม่ปกติอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้เนื่องจากการตกไข่ไม่เกิดขึ้น และยังอาจเกี่ยวข้องกับความไม่สมดุลของฮอร์โมนอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งอาจอยู่ร่วมกัน เช่น ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ระดับโปรแลคตินผิดปกติ เป็นต้น

ความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้หญิงที่มี PCOS คืออะไร?

PCOS ส่งผลกระทบต่อทุกส่วนของร่างกาย ไม่ใช่แค่ระบบสืบพันธุ์ที่เราพบในช่วงวัยเจริญพันธุ์ แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงของผู้หญิงที่จะเป็นโรคร้ายแรงที่อาจส่งผลตลอดชีวิต

การดื้ออินซูลินเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 และโรคหลอดเลือดหัวใจ เงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวข้องกับ PCOS คือกลุ่มอาการเมตาบอลิซึม โรคนี้ก่อให้เกิดทั้งโรคเบาหวานและโรคหัวใจ

ผู้หญิงที่มี PCOS มีแนวโน้มที่จะมีอาการที่เรียกว่าเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวเกินไป ซึ่งเยื่อบุมดลูกหนาเกินไป ภาวะนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

มีการรักษาสำหรับผู้หญิงที่มี PCOS หรือไม่?

มีการรักษาที่หลากหลายเพื่อแก้ไขปัญหาของ PCOS

การรักษาจะปรับให้เหมาะกับผู้หญิงแต่ละคนตามอาการ ปัญหาสุขภาพอื่นๆ และไม่ว่าต้องการตั้งครรภ์ หรือกำลังสร้างครอบครัว

ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมสามารถใช้รักษาสตรีที่มีภาวะ PCOS ได้อย่างไร?

ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมสามารถใช้ในการรักษาระยะยาวในสตรีที่มีภาวะ PCOS ที่ไม่ต้องการตั้งครรภ์

ยาเม็ดฮอร์โมนรวมมีทั้งเอสโตรเจน และโปรเจสติน ยาคุมกำเนิดเหล่านี้ควบคุมรอบประจำเดือนและลดขนดก และสิวโดยการลดระดับแอนโดรเจน นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

การลดน้ำหนักส่งผลต่อผู้หญิงที่มี PCOS อย่างไร?

สำหรับผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนักเพียงอย่างเดียวมักจะควบคุมรอบประจำเดือน แม้แต่การลดน้ำหนัก 10-15 ปอนด์ก็สามารถช่วยทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอมากขึ้นได้ การลดน้ำหนักยังพบว่าช่วยเพิ่ม ระดับ คอเลสเตอรอลและอินซูลิน และบรรเทาอาการต่างๆ เช่น การเจริญเติบโตของเส้นผมส่วนเกินและสิว

ยาที่ไวต่ออินซูลินสามารถช่วยรักษาสตรีที่มี PCOS ได้อย่างไร?

ยาที่ไวต่ออินซูลินที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานมักใช้ในการรักษา PCOS ยาเหล่านี้ช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลิน ยาเหล่านี้รับประทานหลังจากปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ในผู้หญิงที่มี PCOS สามารถช่วยลดระดับแอนโดรเจนและปรับปรุงการตกไข่ได้ การฟื้นฟูการตกไข่ช่วยให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอและคาดเดาได้มากขึ้น

สิ่งที่สามารถทำได้เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่มี PCOS?

ขั้นตอนแรกคือการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หลังจากการวิเคราะห์โดยละเอียดโดยการตรวจอัลตร้าซาวน์  ตรวจค่าฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องและนำไปสู่ผลสำเร็จ คือไข่กับมาตกตามปกติ รอบเดือนเป็นปกติ

การตกไข่ที่ประสบความสำเร็จเป็นก้าวแรกสู่การตั้งครรภ์

สำหรับผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนักมักจะบรรลุเป้าหมายการรักษาภาวะไข่ไม่ตกได้

ยากระตุ้นการตกไข่ และยาลดฮอรโมนอินซูลิน

การผ่าตัดรังไข่ ถูกนำมาใช้เมื่อการรักษาอื่นๆ ไม่ได้ผล

ICSI Process

ตอบคำถามที่พบบ่อย จะทำ ICSI กับคุณหมอ แต่บ้านอยู่ต่างจังหวัด  บ้านอยู่ต่างประเทศ ต้องมาเจอหมอบ่อยมั้ยคะ จะได้วางแผนการเดินทางถูกค่ะ

ข้อแนะนำ

ช่วงกระตุ้นไข่
คุณหมอจะนัดมาดูเป็นระยะว่ารังไข่ทั้งสองข้างมีไข่โตขนาดเท่าไหร่แล้ว มีขนาดกี่มิล.
– นัดครั้งแรกหลังประจำเดือนมา 1-2 วัน
– ครั้งที่ 2 หลังจากเริ่มฉีดยาแล้วประมาน 5-6 วัน
– ครั้งที่ 3 จะฉีดยาต่อประมาณ 2-4 วันแล้วแต่การโตของไข่

โดยประมาณ คุณหมอจะนัดมาติดตามอาการ 3-4 ครั้ง และทุกครั้งที่มาหาหมอจะต้องมาเจาะเลือดดูค่าฮอร์โมนก่อนที่จะอัลตราซาวนด์ เพื่อการให้ยาว่าต้องให้เพิ่มหรือน้อยลง หลังจากที่ไข่โตได้ขนาดที่ต้องการแล้ว คุณหมอจะนัดเก็บไข่

ช่วงเก็บไข่

ก่อนวันเก็บไข่จะต้องงดน้ำงดอาหาร (ก่อนเวลา 8 ชั่วโมง) เพราะการเก็บไข่จะต้องทำการวางยาสลบ อาการหลังเก็บไข่ ทำให้ปวดท้องหน่วงๆบ้าง หรือจะมีเลือดไหลออกมาบ้างเล็กน้อย บางคนอาจจะมีอาการท้องอืดถ้าเก็บไข่แล้วรู้สึกไม่ปกติ อืดท้อง นอนไม่ได้ ท้องบวมเหมือนคนท้อง หายใจไม่ออกให้กลับมาพบแพทย์ทันที

*หมายเหตุ การเดินทางมาครั้งที่ 4 จะขึ้นอยู่กับร่างกายและปัจจัยของแต่ละบุคคล

เริ่มกระบวนการรักษากระตุ้นไข่จนถึงวันเก็บไข่ ใช้เวลาประมาณ12-14 วัน

พบคุณหมอ ครั้งที่1 : ประจำเดือนวันที่2-3 เพื่อเริ่มรับยากระตุ้นไข่ ใช้เวลา 2 ชั่วโมง

ครั้งที่2 : ติดตามดูฟองไข่หลังฉีดยากระตุ้น 5 วัน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

ครั้งที่3 : ติดตามดูฟองไข่หลังฉีดยากระตุ้น 9 วัน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

ครั้งที่4 : วันเก็บไข่ ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมงรวมนอนพักฟื้นค่ะ สามารถเดินทางกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องนอนค้างคืนค่ะ แนะนำควรมีคนขับรถให้ เพื่อความปลอดภัยหลังจากยาสลบหมดฤทธิ์ค่ะ อาจยังมึนๆ เบลอๆ ได้ค่ะ

**หากอยากคลอดลูกให้ทันปีมังกรทอง หมอแนะนำว่าให้ใส่ตัวอ่อนภายในเดือน เมษายน 2567 นะคะ กำหนดคลอดจะยังทันคลอดในปีมังกร 2567 ค่ะ

ไข่ไม่ตก ประจําเดือนจะมาไหม

วิธีตรวจสอบวันตกไข่

การรู้วันตกไข่ (Ovulation) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลที่พยายามตั้งครรภ์หรือผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ การตกไข่ (Ovulation) หมายถึงการปล่อยไข่ออกจากรังไข่ ซึ่งโดยปกติจะเกิดขึ้นหนึ่งครั้งในแต่ละรอบประจำเดือน

ในบทความนี้ เราจะสำรวจวิธีการต่างๆ เพื่อช่วยให้คุณระบุวันตกไข่ (Ovulation) ได้อย่างแม่นยำ ถ้าไม่มีอาการอย่างหนึ่ง อย่างใดตามนี้ก็แสดงว่าคุณอาจกำลังมีภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง (PCOS) ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการมีบุตรยากนั้นเอง

1. การติดตามรอบประจำเดือน:
ขั้นตอนแรกในการกำหนดวันตกไข่ (Ovulation) คือการติดตามรอบประจำเดือน รอบประจำเดือนมักกินเวลาระหว่าง 28 ถึง 32 วัน แม้ว่าอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคนก็ตาม วันที่หนึ่งของรอบเดือนถือเป็นวันแรกของรอบเดือน ด้วยการติดตามรอบเดือนของคุณในช่วงสองสามเดือน คุณสามารถระบุรูปแบบและประมาณการว่าเมื่อใดมีแนวโน้มที่จะเกิดการตกไข่ได้ การนับใช้ได้เฉพาะกับผู้หญิงที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอเท่านั้น เช่น รอบเดือนจะมาทุกๆ 28 วันเสมอ วันไข่ตกก็อยู่ในช่วงวันที่ วันที่ 14-17 ของแต่ละเดือน (นับวันที่ประจำเดือนมาวันแรกเป็นวันที่ 1 ของรอบเดือน) เมื่อนับวันได้แล้วก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ในช่วงก่อนวันตกไข่ประมาณ 2 วัน พูดง่ายๆ ก็คือ ตั้งแต่วันที่ 12 ของรอบเดือน เพราะอสุจิจะมีชีวิตรอผสมไข่อยู่ได้ประมาณ 2 วันก่อนการตกไข่ ถ้ารอบเดือนไม่ปกติ แนะนำเป็นการเทสไข่ตกจนเจอ 2 ขีดเข้มจะแม่นยำกว่า

2. แผนภูมิอุณหภูมิร่างกายขั้นพื้นฐาน (BBT):
แผนภูมิอุณหภูมิร่างกายขั้นพื้นฐานเกี่ยวข้องกับการวัดอุณหภูมิร่างกายของคุณทุกเช้าก่อนลุกจากเตียง ในระหว่างการตกไข่ อุณหภูมิร่างกายของผู้หญิงจะสูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การทำแผนภูมิอุณหภูมิอย่างสม่ำเสมอ คุณอาจสังเกตเห็นรูปแบบของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ซึ่งบ่งชี้ว่าการตกไข่เกิดขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้น

3. การติดตามมูกปากมดลูก:
การติดตามการเปลี่ยนแปลงของมูกปากมดลูกเป็นอีกวิธีหนึ่งในการพิจารณาการตกไข่ เมื่อการตกไข่ใกล้เข้ามา ความสม่ำเสมอและลักษณะของมูกปากมดลูกจะเปลี่ยนไป จะใสขึ้น ยืดตัว และลื่นมากขึ้น คล้ายกับความคงตัวของไข่ขาว สิ่งนี้บ่งชี้ว่าคุณอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์และใกล้จะตกไข่

4. ชุดทำนายการตกไข่ (OPK):
ชุดทำนายการตกไข่มีจำหน่ายในร้านขายยาส่วนใหญ่ และเป็นวิธีที่สะดวกในการพิจารณาว่าคุณกำลังจะตกไข่เมื่อใด ชุดอุปกรณ์เหล่านี้จะตรวจจับฮอร์โมนลูทีไนซ์ซิ่ง (LH) ที่เกิดขึ้น 24 ถึง 36 ชั่วโมงก่อนการตกไข่ ด้วยการทำตามคำแนะนำที่มาพร้อมกับชุดอุปกรณ์ คุณสามารถระบุ LH ที่พุ่งสูงขึ้นและคาดการณ์ช่วงเวลาของการตกไข่ได้

5. อาการปวดท้องหน่วงๆ  ปวดท้องน้อยข้างเดียว มักจะมาพร้อมการตกไข่ หรือ เป็นอาการ Mittelschmerz ผู้หญิงบางคนมีอาการปวดกระดูกเชิงกรานเล็กน้อยหรือเจ็บท้องข้างใดข้างหนึ่งระหว่างการตกไข่ ความเจ็บปวดนี้เรียกว่า mittelschmerz การใส่ใจกับความรู้สึกไม่สบายหรือความเจ็บปวดในช่องท้องส่วนล่าง คุณอาจสามารถระบุเวลาตกไข่โดยประมาณได้

เมื่อรู้วันไข่ตกแล้วก็สามารถเริ่มมีเพศสัมพันธ์ในช่วงก่อนวันไข่ตก และหลังวันตกไข่ได้ประมาณ 2 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้ไข่และอสุจิได้มาเจอกันมากที่สุด  โดยปกติแล้วการตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อไข่ของเพศหญิงมีการปฏิสนธิในช่วงที่ตกไข่ ซึ่งใน 1 เดือน จะมีการตกไข่เพียง 1 ครั้ง และช่วงที่ไข่จะพร้อมรอการผสมจะมีช่วงเวลาอยู่แค่ 12-24 ชั่วโมงเท่านั้นในแต่ละเดือน ถ้าหากมีการปฏิสนธิหรือมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้ไข่ก็จะไปฝังตัวกับเยื่อบุผนังมดลูกกลายเป็นตัวอ่อน เกิดเป็นการตั้งครรภ์ขึ้น แต่ถ้าไข่ไม่ถูกปฏิสนธิหรือผสมไม่สำเร็จ อีก 14 วันหลังจากนั้นก็จะกลายเป็นประจำเดือนปกตินั่นเอง

การรู้วันไข่ตก สามารถช่วยผู้ที่พยายามตั้งครรภ์ หรือกำลังวางแผนครอบครัว มีลูกตามธรรมชาติได้อย่างดี . การติดตามรอบประจำเดือนของคุณ โดยใช้วิธีต่างๆ เช่น ตารางวัดอุณหภูมิร่างกายขณะตั้งครรภ์ การตรวจติดตามมูกปากมดลูก ชุดทำนายการตกไข่  และการตระหนักถึงความเจ็บปวดจากการตกไข่ (Ovulation) คุณสามารถเพิ่มโอกาสในการระบุช่วงไข่ตกได้สำเร็จ หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพการเจริญพันธุ์หรือกำลังประสบปัญหาในการตั้งครรภ์ ขอแนะนำให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมต่อไปค่ะ