คำถามที่พบบ่อย โรคโควิด-19 กับสตรีตั้งครรภ์
1.Q:คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่ไหนบ้าง
- A: โรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ทั่วประเทศไทย
- ศูนย์ตรวจอื่นๆ ที่รัฐจัดให้
2.Q:คุณแม่ตั้งครรภ์หากพบว่าติดเชื้อ จะต้องทำอย่างไร
- A: ประเมินอาการและความรุนแรงของโรค
- ให้การรักษาร่วมกับทีมอายุรแพทย์
- ติดตามคนที่สัมผัสใกล้ชิดมาตรวจเชื้อ
3.Q:คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 จำเป็นต้องผ่าท้องคลอด หรือไม่
- A: ไม่จำเป็น การผ่าคลอดจะทำตามข้อบ่งชี้ที่แพทย์เป็นคนพิจารณาเห็นสมควร
- สามาถให้การระงับความรู้สึกด้วยการบล๊อกหลังได้
4.Q:คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 สามารถกอดหอม หรืออุ้มลูกได้หรือไม่
- A: หลังคลอด จะมีการแยกลูกออกไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 ก่อน
- หากไม่พบเชื้อในตัวลูก สามารถ กอดและอุ้มลูกให้นมได้ แต่ต้องสวมหน้ากาก ล้างมือทุกครั้งก่อนจับตัวลูก งดหอมแก้มลูก ไม่ไอจามใส่ลูก
- หากพบว่าลูกติดเชื้อรุนแรง จะต้องแยกไปรักษาที่หอผู้ป่วยเด็กแรกเกิด
- หากพบว่า ลูกติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรืออาการน้อย และมารดาไม่มีอาการหรืออาการน้อย ไม่จำเป็นต้องแยกจากแม่
5.Q:คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 สามารถให้ลูกดูดนมจากเต้าได้หรือไม่
- A: ให้ได้ตามปกติ แต่จะต้องระวังไม่ให้ลูกติดเชื้อโดย สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือทุกครั้งก่อน และหลังจับตัวลูก
- หลีกเลี่ยงการไอ หรือจาม ขณะให้ลูกดูดนม หรือใช้วิธีปั๊มนมออกมา แล้วให้ญาติหรือพี่เลี้ยงเอาไปให้ลูกกิน
6.Q:คุณแม่ตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่
- A: ประโยชน์ที่จะได้จากวัคซีนมีมากกว่าความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงของวัคซีน
- จึงแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์เข้ารับการฉีดวัคซีนได้ ยกเว้น คนที่เคยแพ้รุนแรงจากการฉีดวัคซีนครั้งก่อน หรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีนรุนแรง
7.Q:คุณแม่ตั้งครรภ์จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ต้องทำอย่างไร
A: ปรึกษาสูติแพทย์ที่ดูแลท่าน เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
- การฉีดวัคซีน แนะนำให้ฉีดหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
- ชนิดของวัคซีน ใช้ได้ทั้งของบริษัท Sinovac หรือ AstraZeneca
- ผลข้างเคียงของวัคซีน พบได้น้อยและไม่แตกต่างจากคนทั่วไป
- หลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 พร้อมกับฉีดวัคซีนชนิดอื่นๆ ยกเว้นจำเป็น
- การฉีดวัคซีนชนิดอื่นควรเลื่อนไปอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
8.Q:ถ้าฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปแล้ว พบว่าตั้งครรภ์ ต้องทำอย่างไร
- A: จากข้อมูลปัจจุบัน ไม่พบว่า วัคซีนจะทำให้เกิดทารกพิการแต่กำเนิด จึงไม่ต้องยุติการตั้งครรภ์
- เมื่อพบว่าการตั้งครรภ์ภายหลังฉีดวัคซีน แต่ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ออกไปฉีดในช่วงหลัง เมื่ออายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์
9.Q:สตรีที่วางแผนจะตั้งครรภ์ จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่
- A: สามารถฉีดวัคซีนได้ หลังฉีดวัคซีนไม่ต้องเว้นระยะการมีบุตร
- ไม่ต้องตรวจการตั้งครรภ์ ก่อนฉีดวัคซีน
- ไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนจะส่งผลต่อความสามารถในการมีบุตรในอนาคต
ได้รับทราบข้อมูลแบบนี้แล้ว หวังว่าคุณแม่หลายคนในที่นี้คงจะโล่งใจขึ้น ขอแค่หมั่นดูแลสุขอนามัยของตัวเองอย่างเคร่งครัดและเตรียมตั้งรับให้พร้อมอยู่เสมอ ทั้งคุณและลูกน้อยในท้องก็จะมีสุขภาพดี ไม่ต้องเป็นกังวลระหว่างการตั้งครรภ์อย่างแน่นอนค่ะ
ด้วยความปรารถนาดีจาก Smile IVF Clinic
อ่านเพิ่มเติม >> ถามมาตอบไว กับหมอเหมากิจทวี (ตอนที่ 1)
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Smile IVF Clinic
พร้อมให้คำปรึกษาในทุกช่องทาง
โทร. 02 097 1977
สายด่วน :
◎ 064-585-6324
◎ 064-585-6325
◎ 064-585-6326
◎ 064-585-6327
Line : https://line.me/ti/p/@smileivf
IG : smileivf
E-mail : info@smileivf.com
Youtube : https://bit.ly/2RtAZ3P
อาคารอารีย์ ฮิลล์ (Ari Hills) ชั้น 21
428 ซอยพหลโยธิน 10, ถนนพหลโยธิน
แขวงสามเสนใน, เขตพญาไท
กรุงเทพมหานคร 10400