การฉีด PRP (Platelet-Rich Plasma) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก เพิ่มอัตราการฝังตัวของตัวอ่อนและอัตราการตั้งครรภ์ได้ดีอีกด้วย
การฉีด PRP (Platelet-Rich Plasma) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก เพิ่มอัตราการฝังตัวของตัวอ่อนและอัตราการตั้งครรภ์ได้ดีอีกด้วย
PRP เหมาะกับกลุ่มคนไข้ที่มีผนังมดลูกบาง โดยไม่ทราบสาเหตุ มีผนังมดลูกบางเนื่องจากมีพังผืดในโพรงมดลูก เคยย้ายตัวอ่อนแต่ไม่ประสบความสำเร็จ และกลุ่มที่เตรียมผนังเยื่อบุโพรงมดลูกยากค่ะ
ในการเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อทำการย้ายตัวอ่อน พบว่ามีกลุ่มคนไข้ส่วนหนึ่งที่มีปัญหาเยื่อบุโพรงมดลูกบางโดยไม่ทราบสาเหตุ แม้ว่าจะได้รับยาฮอร์โมนเอสโตรเจน ในระดับสูงแล้วก็ตาม ทำให้ไม่สามารถย้ายตัวอ่อนได้
โดยวิธีการรักษานั้นเริ่มจากเจาะเลือดปริมาณ 15-20 CC. นำมาปั่นด้วยวิธีพิเศษ คัดกรองเกล็ดเลือดในปริมาณเข้มข้น ฉีดกลับเข้าสู่โพรงมดลูก
มาดูองค์ประกอบสำคัญของเกล็ดเลือดที่ได้ ซึ่งจะปล่อยสารเหล่านี้ออกมา
• CSF-1 ช่วยส่งเสริมการฝังตัวของตัวอ่อน
• IL-6 ช่วยป้องกันการแท้งซ้ำซ้อน
• IL-8 ช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกพร้อมสำหรับการมีบุตร
• LIF ช่วยให้ตัวอ่อนฝังตัวในโพรงมดลูกได้ดีขึ้น
• TGF-β ช่วยให้เซลล์รกยึดติดกับเยื่อบุโพรงมดลูกดีขึ้น
• TNF-α ช่วยในการฝังตัวของตัวอ่อน
• VEGF ทำให้เลือดไปเลี้ยงโพรงมดลูกดีขึ้น
การใช้ PRP ฉีดเข้าโพรงมดลูก ในกลุ่มคนไข้ที่มีเยื่อบุบางพบว่าหลังได้รับการฉีด PRP เข้าในโพรงมดลูกแล้ว ก่อนการสอดยาโปรเจสเตอโรน พบ ว่าเยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น และมีปริมาณเลือดมาเลี้ยงเยื่อบุโพรงมดลูกเพิ่มขึ้นด้วย
การฉีด PRP เข้าสู่โพรงมดลูก เป็นการรักษาที่พัฒนาขึ้นใหม่ แนะนำให้ใช้ในหญิงมีบุตรยากซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมโพรงมดลูกเพื่อย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งที่มีประวัติ
⁃ เคยยกเลิกการย้ายตัวอ่อน เนื่องจากเยื่อบุโพรงมดลูกบาง
⁃ เยื่อบุโพรงมดลูกบางที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ฮอร์โมน
⁃ ภาวะพังผืดในโพรงมดลูก (Asherman’s syndrome)