Covid-19 vaccination

ในกระบวนการทำ ICSI ได้ตัวอ่อนมาแล้ว แต่ตัวอ่อนมีภาวะเป็น Mosaic ควรใส่ หรือไม่ใส่ตัวอ่อนดี

อยากทราบว่าภาวะ โมเซอิก (Mosaic) คืออะไร? ไขข้อสงสัยในกระบวนการทำ ICSI ถ้าใส่ตัวอ่อนจะเป็นอะไรมั้ย?

ภาวะโมเซอิก (Mosaic) จะเจอได้ในกรณีที่คนไข้ทำกระบวนการ ICSI ได้ตัวอ่อน และดึงเซลล์มาตรวจแล้ว และได้ผลแล้ว เวลาแปลผล เราจะมี 3 อย่างหลักๆ คือ

  • 1. ผลปกติ
  • 2.ผลผิดปกติ ไม่แนะนำให้ใส่ตัวอ่อน
  • 3. ภาวะโมเซอิก (Mosaic) คือภาวะที่มีเซลล์ตัวอ่อนดี และไม่ดีปนกัน

โดยปกติแล้วในการดึงเซลล์ตัวอ่อนเค้าจะดึงมาตรวจทุกโครโมโซม แล้วดูว่ามีความผิดปกติกี่เปอร์เซ็น ถ้าสมมุติความผิดปกตินั้นน้อยกว่า 20% เค้าจะถือว่าตัวอ่อนนั้นเป็นปกติ

แต่ถ้าความผิดปกตินั้นมากกว่า 80% เค้าจะถือว่าตัวอ่อนตัวนี้ผิดปกติ ถ้าสมมุติ โมเซอิก(Mosaic) แค่ 25%-30% คือน้อยๆ น่าจะมีโอกาสที่ตัวอ่อนนี้พัฒนาให้เซลล์ดีเยอะกว่าไม่ดีได้ และกลับมาเป็นปกติได้ก็จะลองใส่ดู

กรณีที่เราไม่มีตัวอ่อนปกติเลย เพราะฉะนั้นบอกตามตรงเลยว่าต้องลุ้นอย่างเดียวเลย ว่ามีโอกาสท้อง และได้น้องที่ปกติ เช่นเดียวกันก็มีโอกาสไม่ท้อง หรือเด็กไม่ปกติหรือว่าบางคนไม่ฝังตัว บางคนท้องแล้วแท้งก็มี โดยคุณหมอจะเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงเป็นเคสๆไป

ตัวอ่อนที่เป็น Mosaic ถือว่าก็ยังมีโอกาสโตไปเป็นทารกที่ปกติได้ค่ะ เพราะการสุ่มเซลล์มาตรวจโครโมโซมเป็นการเอาจากส่วนที่จะพัฒนาไปเป็นรก ไม่ใช่ส่วนที่จะเป็นเด็ก ซึ่งในบางครั้งระหว่างการแบ่งเซลล์ในช่วงแรกอาจจะมีเซลล์บางส่วนที่แบ่งตัวผิดพลาดได้ ในขณะที่เซลล์อีกส่วนเป็นปกติ เมื่อพัฒนาต่อไปบางครั้งตัวอ่อนก็สามารถแก้ความผิดปกตินี้ได้ค่ะ และสุดท้ายจะกลายเป็นทารกที่มีโครโมโซมปกติ ยิ่ง % ที่เป็น Mosaic น้อยก็ยิ่งมีโอกาสที่จะสำเร็จสูง  แต่การตัดสินใจใส่ตัวอ่อนแบบนี้จำเป็นต้องเผื่อใจไว้บางเล็กน้อย เพราะไม่ใช่ทุกเคสที่จะประสบความสำเร็จ บางเคสก็อาจจะแท้งไปก่อน หรือถ้าสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ก็จำเป็นต้องทำการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจโครโมโซมยืนยันอีกรอบค่ะ ทั้งนี้บางครั้งการที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้สำเร็จก็อาจจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับโครโมโซมของตัวอ่อนเพียงอย่างเดียวก็ได้ค่ะ เพราะการใส่ตัวอ่อนกลับไปก็ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จอยู่หลายอย่าง

ภาวะโมเซอิก Mosaic
YOU MAY ALSO LIKE